การศึกษาพฤติกรรมการอ่าน ปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการอ่าน และแนวทางในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7

ผู้แต่ง

  • จักรพันธ์ หลงสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิรินาถ จงกลกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การอ่าน, พฤติกรรมการอ่าน, ปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการอ่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักเรียน 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการอ่านของนักเรียน จำแนกตาม เพศ และผลการเรียน 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านของนักเรียน และ 4) ศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการอ่าน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาพฤติกรรมการอ่าน และปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการอ่าน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 จำนวน 364 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบความแปรปรวน (One Way ANOVA) และ แนวทางในการส่งเสริมการอ่านของนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการอ่านของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.95, S.D.=0.68) พฤติกรรมการอ่านของนักเรียน จำแนกตามเพศ และผลการเรียน ไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ปัจจัยที่ส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านของนักเรียน ด้านครอบครัว โรงเรียน และเพื่อน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และแนวทางในการส่งเสริมคือ โรงเรียนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการอ่านให้กับนักเรียนอย่างต่อเนื่อง พร้อมจัดให้มีการแข่งขันเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนอยากอ่าน ต้องจัดห้องสมุดให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการอ่าน สะดวกต่อการใช้บริการ น่าสนใจ มีคอมพิวเตอร์/อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไว้อำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูล และจัดหาหนังสือใหม่ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
_______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กาญจนา รูปสี และคณะ. (2550). การศึกษาพฤติกรรมและความสนใจในการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการรัชดา. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
ดวงพร พวงเพชร. (2541). การส่งเสริมนิสัยรักการอ่านจากครอบครัวของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพมหานคร.
ดารารัตน์ อุทัยพยัคฆ์. (2555). พฤติกรรมการอ่านในเด็กปฐมวัย (Online). สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2559, จาก https://www.gotoknow.org/posts/452264
ธาดาศักดิ์ วัชรปรีชาพงษ์. (2550). พฤติกรรมการอ่านของนักเรียนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธีรยุทธ รอสูงเนิน. (2557). พฤติกรรมการอ่านหนังสือและแนวทางส่งเสริมพฤติกรรมการอ่านหนังสือ ของผู้เรียนระดับอาชีวศึกษาและเทคนิคศึกษาประเภทวิชาพาณิชยกรรมในสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุรีวิทนาสาส์น.
ประเสริฐ บุญเรือง. (2555). คนไทยอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 8 บรรทัด (Online). สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.mcot.net/site/content?id=504c95290b01da3331000002
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. นครปฐม : ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา.
สมหญิง มงคลธง. (2558). พฤติกรรมการอ่านของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง, กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (2559). รายงานผลการสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET 2558. นครราชสีมา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). ข้อมูลสถิติการอ่านหนังสือของคนไทย (Online). สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2558, จาก www.nso.go.th
สำลี รักสุทธี. (2553). สอนอย่างไรให้เด็กอ่านออกเขียนได้. กรุงเทพมหานคร : พัฒนาการศึกษา.
สุขุม เฉลยทรัพย์. (2531). การส่งเสริมการอ่าน (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี : วิทยาลัยครูเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุประวีณ์ น่วมเศรษฐี. (2549). เอกสารประกอบการสอนในรายวิชา 0100201 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น. จันทบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สุมนฑา ฤกษ์สง่า. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการอ่าน และพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
อัมพร สุขเกษม. (2550). การอ่านหนังสือ. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อุดม เพชรสังหาร. (2555). ทำไมเด็กไทยจึงไม่ชอบอ่านหนังสือ (Online). สืบค้นเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2559, จาก http://www.inetfoundation.or.th/news.php?act=show&Id=98

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01