การแสวงหารูปแบบการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยกระบวนการให้คำปรึกษา

ผู้แต่ง

  • จันจลี ถนอมลิขิตวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

เด็กที่มีความต้องการพิเศษ, การให้คำปรึกษา, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหารูปแบบการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยกระบวนการให้คำปรึกษาตามฐานกระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม ดำเนินการวิจัยโดยการใช้เรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิตผ่านกระบวนการให้คำปรึกษากลุ่มจำนวน 8 คน รวมทั้งการสัมภาษณ์ การใช้แบบสอบถาม และการเก็บข้อมูลโดยประสบการณ์ตรงของผู้วิจัยในฐานะครูผู้ดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษเวลาสิบปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความผ่านภาพสะท้อนประสบการณ์ชีวิตของผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ บุคคลผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้ปกครอง ครู และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ 1) ศึกษาความต้องการของคนในพื้นที่ 2) เครื่องมือการคัดกรองและผู้คัดกรองต้องมีความเฉพาะเจาะจงตามบริบทในพื้นที่เพราะส่วนใหญ่ใช้ภาษามลายูถิ่นเป็นภาษาแม่ 3) จัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) 4) ดูแลสุขภาพจิตและสุขภาพกายพื้นฐานตามความต้องการจำเป็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานที่มีความจริงใจ เสียสละเข้าใจคนในพื้นที่โดยแท้จริง และติดตามผลพร้อมทั้งทบทวนผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

References

จันจลี ถนอมลิขิตวงศ์. (2554). การให้คำปรึกษาเด็กที่มีความสามารถพิเศษตามแนวกระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการให้คำปรึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
ชาญชัย ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2559). “การเสริมสร้างความหมายในชีวิตของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยใช้รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มแบบภวนิยม.” วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 1(10), 34.
ธิดารัตน์ คณึงเพียร. (2556). “ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.” วารสารกองการพยาบาล, 1(40), 57.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). คำแก้ตัวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิด. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1, 1.
นิศา ชูโต. (2545). การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : แม็ทส์ปอยท์.
ปฤษณา ชนะวรรษ. (2549). เทคโนโลยีแห่งตัวตนในการยุติการพึ่งพายาเสพติด : การสร้างทฤษฎีฐานรากตามแนวสร้างสรรค์นิยม .วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, กรุงเทพมหานคร.
ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต, 29, 38.
รอฮานี เจ๊ะอุเซ็ง. (2559). การปรึกษากลุ่มบูรณาการเพื่อลดผลกระทบทางจิตใจและกระบวนการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักหลังเกิดเหตุการณ์วิกฤตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนเดชะปัตตนยานุกูล จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ปัตตานี.
รัตนา พันจุย. (2557). “ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มต่อความสามารถในการเผชิญปัญหาของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน.” โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกุดเวียน, 3(3), 126.
ศุภวดี บุญญวงศ์. (2548). ทฤษฎีการให้คำปรึกษา. สงขลา : ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ศูนย์ข่าว TCIJ. (2556). สลดเด็กพิการกว่า 4 แสนคนไม่ได้เข้า รร. 'กฎหมาย-นโยบาย' ดีแต่รัฐสอบปฏิบัติตก. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2557, จาก www.tcijthai.com/news/2013/10/scoop/3318
Cirecie West-Olatunji. (2013). “A Publication of the American Counseling Association.” COUNSELING TODAY. Retrieved November, 2013, form https://ct.counseling.org/2013/11/research-in-counseling/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01