การศึกษาพฤติกรรมและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักสุขภาวะชุมชน กรณีศึกษา : บ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ณมน ธนินธญางกูร มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • รัตติยา แสงศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุชาดา ปะสังคินี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

พฤติกรรม, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, สุขภาวะชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้สูงอายุในชุมชนตามหลักของสุขภาวะชุมชน และศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ขึ้นไป ทั้งหมดในบ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม จำนวนทั้งสิ้น 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (α) อยู่ระหว่าง 0.72-0.97 และค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.65-0.98 ใช้สถิติพื้นฐานวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.67 ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลแบบสรุปประเด็นโดยภาพรวมทั้งและจำแนกประเภทของข้อมูลและจัดหมวดหมู่ ผลการวิจัยพบว่า ด้านสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีพฤติกรรมด้านสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านปัญญาอยู่ในระดับมาก โดยมีพฤติกรรมด้านความหวังต่อความสำเร็จในการใช้ชีวิตอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านจิตใจอยู่ในระดับมาก โดยมีการจัดการความเครียดอยู่ในระดับมากที่สุด และด้านร่างกายอยู่ในระดับมากโดยมีการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วยอยู่ในระดับมาก และ แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต คือ การตั้งชมรมการออกกำลังกายโดยมีสถานที่และอุปกรณ์การออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ การทำปฏิทินกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ การเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมประเพณีต่าง ๆ ของชุมชนทุกครั้งอย่างต่อเนื่อง การช่วยเหลือด้านสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุให้ครอบคลุมทุกด้าน และการส่งเสริมงานอดิเรกและจัดให้มีโครงการช่วยเหลือสังคมเท่าที่ผู้สูงอายุจะสามารถทำได้เพื่อให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงคุณค่าในตนเอง

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพมหานคร : เจ.เอส.การพิมพ์.
เกสร มุ้ยจีน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 23(2), 306-318.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์, ศิราณี ศรีหาภาค และ คณิศร เต็งรัง. (2556). ผลกระทบและภาระการดูแลผู้สูงอายุระยะ ยาวภายใต้วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงสาธารณสุข.
จรรยารักษ์ พันธ์ยิม. (2557). คุณภาพชีวิตและความต้องการของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย. (2552). การสร้างสรรค์ละครแบบมีส่วนร่วมเพื่อสุขภาวะของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
เบญจวรรณ สุจริต. (2557). รูปแบบการจัดการสุขภาวะและการพึ่งพาตนเองแบบมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจทั่วไป คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
เพ็ญแข ศิริวรรณ และคณะ. (2551). สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.
ภรณี ตังสุรัตน์ และ วิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาล ตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย, 20(1), 57-69.
รังสรรค์ มณีเล็ก และคณะ. (2546). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับประเมินการศึกษา. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถิติจำนวนประชากรบ้านปลาบู่. (2559). รายงานการสำรวจสถิติจำนวนประชากรผู้สูงอายุบ้านปลาบู่ ประจำปี พ.ศ. 2559. มหาสารคาม : ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านปลาบู่ ตำบลหนองแสง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. (อัดสำเนา).
ฤทธิชัย แกมนาค และ สุภัชชา พันเลิศ พาณิชย์. (2559). รูปแบบการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 11(33(2)), 47-61.
สรายุทธ กันหลง. (2555). การทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม Cronbach's alpha. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2560, จาก http://www.ipernity.com
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ 12. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2560, จาก www.slideshare.net
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (3th ed.). New York : Harper & Collings.
E02.XIII.3.
Likert, R. (1996). New Patterns of Management. New York : McGraw-Hill.
Pender, N.J. (1987). Health Promotion in Nursing Practice (3rd ed.). Nor walk-Connecticut : Appleton and Lange.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-reference test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
United nation. (2002). World Population ageing : 1950-2050. United Nations Publication. Sales No.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01