ตัวแปรที่แจกแจงนักศึกษาให้มีภาวะผู้นำนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ปานัฏสิริ จันทร์ศิริ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ศรุดา ชัยสุวรรณ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงษ์ ชวนชม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำของนักศึกษา, สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำและศึกษาตัวแปรที่แจกแจงภาวะผู้นำของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีการศึกษา 2558 จำนวน 9 สถาบัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 45 คน รวม 135 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามปลายปิด วัดฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดา ภาวะผู้นำของบิดามารดาของนักศึกษา ผลการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ประสบการณ์การเป็นผู้นำในระดับมัธยมศึกษา แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วัดแรงจูงใจใฝ่รู้ของนักศึกษา วัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา สอบถามการศึกษาประวัติบุคคลสำคัญของนักศึกษา และ สอบถามแรงบันดาลใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลคำนวณค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความผันแปร ความแปรปรวนทางเดียวของตัวแปรพหุคูณ (One Way MANOVA) และความแตกต่างระหว่างกลุ่ม (Discriminant analysis) ผลการวิจัยพบว่า ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดาของนักศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง บิดามารดาเคยเป็นผู้นำร้อยละ 17 มีผลการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักศึกษา อยู่ในระดับดี นักศึกษามีประสบการณ์เคยเป็นผู้นำในระดับมัธยมศึกษาร้อยละ 16 แรงจูงใจใฝ่รู้และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก การอ่านประวัติบุคคลสำคัญของนักศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง และแรงบันดาลใจของนักศึกษาอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณาค่าน้ำหนักตัวแปรที่มีค่าองค์ประกอบตั้งแต่ ± 0.30 ขึ้นไป พบว่า มี 4 ตัวแปรที่แจกแจงนักศึกษาทั้ง 3 กลุ่มได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ฐานะทางเศรษฐกิจของบิดามารดาของนักศึกษา ผลการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของนักศึกษา ประสบการณ์การเป็นผู้นำในระดับมัธยมศึกษาของนักศึกษา และแรงบันดาลใจของนักศึกษา

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2558). เทคนิคการสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้. สืบค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2558, จาก http://www. coop.sct.ac.th/upload/paper/fa0d203a67859427.pdf
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2557). ยุควิกฤตเด็กและเยาวชน…ขาดภาวะผู้นำ. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.kriengsak.com/node/49
นิพล อินนอก. (2556). ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
วาสนา คำด้วง. (2559). ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
สมใจ รักษาศรี. (2558). การเลี้ยงดูบุตร เลี้ยงอย่างไรให้ได้ดี. สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2558, จาก http://www. thisisfamily.org
สมศักดิ์ ชาญสูงเนิน. (2552). ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน. (2557). ถึงเวลาปฏิรูปเรื่องภาวะผู้นำได้แล้ว. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2557, จาก http:// www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9570000047944
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559). กรุงเทพมหานคร : สกศ.
สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็กเยาวชนผู้ด้อยโอกาส. (2554). ผลการดำเนินงานคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ระหว่าง พ.ศ. 2551-พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน.
สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน. (2550). คู่มือการดำเนินงานสภาเด็กและเยาวชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร : สำนักงาน.
สำเริง บุญเรืองรัตน์. (2558). ตามรอยครูดี. นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
สุนทร ช่องชนิล. (2556). การพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสาธารณะของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนคาทอลิก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). “ภาวะผู้นำเยาวชน.” สารานุกรมวิชาชีพครูเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ สก.สค. ลาดพร้าว.
Franken, R. E. (1998). Human Motivation (4th ed.). California : Brooks Cole Publishing Company.
Martin, O. M., & Others. (2008). TIMSS 2007 International Science Report : Finding from IEA,s Trends in International Mathematics and Science Study at the Fourth and Eighth Grades. Boston : Boston College.
Mullis, V. S., & Others. (2008). TIMSS 2007 International Mathematics Report : Finding from IEA,s Trends in International Mathematics and Science Study at the Fourth and Eighth Grades. Boston : Boston College.
Quinn, V. N. (1990). Applying Psychology (2nd ed.). New York : McGraw–Hill, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01