การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่อง อันตรายใกล้ตัว และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

ผู้แต่ง

  • สุภัตรา ไชยเชษฐ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สิรินาถ จงกลกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน, ความสามารถในการแก้ปัญหา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ สร้างหน่วยการเรียนรู้บูรณาการ และ ศึกษาผลการใช้หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ ในประเด็น ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหา และ เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านกระทุ่มราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ได้แก่ หน่วยการเรียนรู้บูรณาการ เรื่องอันตรายใกล้ตัว โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จำนวน 15 ชั่วโมง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละ และสถิติการทดสอบ Wilcoxon signed rank test และThe Binomial test ผลการศึกษา พบว่า ผลการประเมินความสอดคล้องและเหมาะสม อยู่ในระดับคุณภาพดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 สำหรับ ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้ พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.09 คิดเป็นร้อยละ 36.97 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 23.00 คิดเป็นร้อยละ 76.67 ความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 11.91 คิดเป็นร้อยละ 39.70 โดยค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ความสามารถในการแก้ปัญหา จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.55 คิดเป็นร้อยละ 37.73 หลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.27 คิดเป็นร้อยละ 91.36 ความก้าวหน้ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 10.73 คิดเป็นร้อยละ 53.64 โดยค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

คณะครุศาสตร์. (2559). เอกสารประกอบหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง การพัฒนาการจัดกาเรียนรู้ โดยใช้ปัญหา เป็นฐาน(Problem-base Learning) โครงการคูปองพัฒนาครู ปีงบประมาณ 2559. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). สอนเขียนแผนบูรณาการบนฐานเด็กเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 4 ฉบับปรับปรุง 2557). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพศาล สุวรรณน้อย. (2558). เอกสารประกอบการบรรยายโครงการพัฒนาการเรียนการสอน Problem-based Learning: PBL. ขอนแก่น : สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วิลาวัลย์ คุรุกิจกำจร. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การชั่ง การตวง และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
ศิรินทรา กลักโพธิ์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หน่วยการเรียนรู้ โลก และการเปลี่ยนแปลง และความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จากการจัดเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏนครราชสีมา.
สมทรง อัศวกุล. (2541). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). นครราชสีมา : สมศักดิ์การพิมพ์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7. (2558). รายงานผลการประเมินระดับชาติขั้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี 2558. นครราชสีมา : สำนักงาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Feletti, G. I., & Engle, C. E. (1980). “The modified essay question for testing problem solving skills.” The Medical Journal of Austra, 1(2), 79-80.
Trop, L., & Sage, S. (1998). Problem as possibilities : Problem-Based Learning for K-21 education. Alexandria, VA : Association for Supervision and Curriculum Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01