การบริหารจัดการโรงเรียนสู่ความเป็นเลิศด้วยการเทียบสมรรถนะ

ผู้แต่ง

  • เจนการณ์ เพียงปราชญ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สำเริง บุญเรืองรัตน์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • อลงกต ยะไวย์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการโรงเรียน, วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ, การเทียบสมรรถนะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ เทียบสมรรถนะ กระบวนการและวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนวัดหนองรางกับโรงเรียนที่มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศโดยศึกษากระบวนการและวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ จำนวน 2 โรงเรียน และพัฒนาโรงเรียนวัดหนองรางสู่ความเป็นเลิศ กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ โรงเรียนหนองราง ได้แก่ ผู้บริหาร บุคลากรและครู จำนวน 3 คน และนักเรียน 6 คน และนักเรียนโรงเรียนหนองหลักศิลา และโรงเรียนบ้านประดู่ โรงเรียนละ 8 คน รวม 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะ มีค่า IOC=0.81 แบบสอบถามความคิดเห็น มีค่า IOC=0.97 และแบบประเมินคุณภาพการสอน มีค่า IOC=0.92 และ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่า IOC=0.86 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ช่วงห่าง และใช้สถิติพื้นฐานหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ของความแปรผัน และแบบสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า ช่วงห่างลำดับที่ 1 คือ การจัดการความรู้ในองค์กร ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้และทักษะที่เชื่อมโยงกับวัฒนธรรมองค์กร การสื่อสารภายในที่ดี บรรยากาศในการทำงานที่ดี ผู้บริหารมีภาวะผู้นำสูงและครูมีความพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ ลำดับที่ 2 คือ กระบวนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การออกแบบหลักสูตร เกิดจากการวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจของผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้อง การทำหลักสูตรท้องถิ่น การจัดหาวัสดุอุปกรณ์และสื่อการสอนของหลักสูตรเพียงพอ ใช้หลักการวัดและประเมินผลหลักสูตรตามสภาพจริงและรับฟังข้อเสนอแนะ มีรูปแบบการสอนหลากหลาย สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามแก่ผู้เรียน นิเทศติดตามการเรียนการสอนอย่างสม่ำเสมอ ประชุมระดมความคิดเห็นและผู้บริหารแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูเป็นรายบุคคล สำหรับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก่อนการพัฒนาโดยรวมอยู่ระดับปานกลาง ( =3.41, S.D.=0.33, C.V.=14.47) และหลังการพัฒนาโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.49, S.D.=0.23, C.V.=10.66) โดยมีด้านภาวะผู้นำ ( =4.73, S.D.=0.45, C.V.=7.10) และ ด้านองค์กร ( =4.62, S.D.=0.56, C.V.=10.40) อยู่ในระดับมากที่สุด และคุณภาพการสอนของครูโรงเรียนวัดหนองรางอยู่ในระดับดี ( =4.06, S.D.=0.78, C.V.=19.27)

References

เกริก ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยสาส์น.
บุญดี บุญญากิจ และ กมลวรรณ ศิริพานิช. (2545). Benchmarking ทางลัดสู่ความเป็นเลิศ ทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : อินโนกราฟฟิกส์.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดี.
ปิยะนาถ บุญมีพิพิธ. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง, กรุงเทพมหานคร.
ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2552). การจัดการความรู้ : สังกัปทางทฤษฎี. นครปฐม : เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
มัสยา นาวเหลา, วาโร เพ็งสวัสดิ์ และ ศิริดา บุรชาติ. (2554). ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครพนม. วาสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 1(1), 49-54.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ก). ผลการจัดอันดับคะแนนสอบ Program for International Student Assessment (PISA) ของนักเรียนที่มีอายุ 15 ปี. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2557, จาก http:// www.ipst.ac.th
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ข). บทสรุปผลการวิจัย TIMSS 2011 (ด้านนักเรียนและครูผู้สอน). กรุงเทพมหานคร. (อัดสำเนา).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). 10 สุดยอดโรงเรียนขนาดเล็กที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศประจำปี พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร : การศาสนา.
สุจิต เหมวัล. (2551). อิทธิพลของการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ต่อผลลัพธ์ทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
อมรทิพย์ เจริญผล. (2550). การจัดการความรู้จากแหล่งเรียนรู้ของสถานศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
Alstete, J. W. (1995). Benchmarking in Higher Education : Adapting Best Practices to Improve Quality. ASHE-ERIC, Higher Education Report No.5. George Washington University, Washington, D.C.
Beauchamp, G. (1981). Currculum theory. Itasca, Illinois : F. E. Peacock Publisher.
Economist Intelligence Unit. (2014). The Learning Curve : Lessons in Country Performance in Education. London : Pearson.
Global Education First. (2012). English Proficiency Index. Retrieved July 27, 2014, from http://www. globaleducationfirst.org
Goetsch, D. L., & Davis, S. B. (2003). Quality Management : Introduction to Total Quality Management for Production, Processing, and Services (4thed.). New Jersey : Person.
International Institute for Management Development. (2014). World Competitiveness Yearbook 2014. Switzerland : Lausanne.
Neil, M. W. (1981). The Open University : a research study on international collaboration between institutions of distance learning. Miltion Keynes : The Open University.
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1997). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion Referenced Test Item Validity. Dutch Journal of Education Research, 2, 49-60.
Taba, H. (1962). Curriculum development : theory and practice. New York : Brace & World.
World Economic Forum. (2014). The Global Competitiveness Report 2013-2014. Retrieved July 26, 2014, form http://www3.weforum.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-01