การพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายประชารัฐกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ญาติมา นุชแดง 16/10 ถนนเลียบคลองทวีวัฒนา เขต/แขวง ทวีวัฒนา กทม. 10170

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.2

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้มี 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายประชารัฐกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายประชารัฐกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทรา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคล และ (3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายประชารัฐ การวิจัยนี้มีลักษณะเป็นการผสมระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ

สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณนั้น ประชาชนจำนวน 400 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประกอบเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยนี้ ขนาดของกลุ่มตัวอย่างกำหนดโดยใช้สูตรของ ทาโรยามาเน่ ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้ตอบกรอกข้อความเอง ข้อมูลที่เก็บได้ถูกวิเคราะห์โดยใช้สติพรรณนา เอ็ฟเทสและเพียรซันอาร์ ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยมาจาก 3 แหล่งคือ เอกสารต่าง ๆ การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการสอบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ในการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกนั้นได้มีการสัมภาษณ์บุคคลผู้นำชุมชน จำนวน 11 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้ทำการวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้พบข้อเท็จจริง ดังต่อไปนี้ เกี่ยวกับการพัฒนาประเทศตามนโยบายประชารัฐ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับต่ำ ( gif.latex?\bar{x}= 2.35) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ ค่าเฉลี่ยเรียงจากมากไปหาน้อยเป็นดังนี้ ด้านการติดตามทำความเข้าใจในนโยบาย ( gif.latex?\bar{x}= 2.52), การมีส่วนของประชาชนในการนำนโยบายไปปฏิบัติ (gif.latex?\bar{x} = 2.48) และการเข้าร่วมของประชาชนในการเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับนโยบาย (gif.latex?\bar{x} = 2.17)

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาประเทศกับภูมิหลังทางด้านเศรษฐกิจสังคมของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีการศึกษาต่างกันและรายได้ประจำต่อเดือนต่างกันมีการเข้าร่วมในการพัฒนาที่แตกต่างกัน ความแตกต่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่ประชาชนที่มีเพศต่างกัน อายุต่างกันและอาชีพต่างกันไม่ได้มีความแตกต่างกันในเรื่องการเข้าร่วมในการพัฒนา

เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาประเทศตามนโยบายประชารัฐกับการเข้าร่วมของประชาชน ผู้วิจัยได้พบความจริงต่อไปนี้: พิจารณาโดยรวม ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาประเทศตามนโยบายประชารัฐกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในจังหวัดฉะเชิงเทราโดยรวม อยู่ในระดับสูง (r=0.800, Sig.=0.000) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสหสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง ประกอบด้วย ด้านแรงจูงใจในการเข้าร่วม (r=0.853, Sig.=0.000) ส่วนสหสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง ประกอบด้วย ด้านการประชาสัมพันธ์ในการเข้าร่วม (r=0.565, Sig.=0.000) และ ด้านโอกาสหรือช่องทางในการเข้าร่วม (r=0.518, Sig.= 0.000) ส่วนสหสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำ ประกอบด้วย ด้านสภาพแวดล้อมของชุมชน (r=0.457, Sig.=0.000) อย่างมีนัยสำคัญที่ 0.01 ตามลำดับ

สำหรับสิ่งที่ค้นพบที่ได้จากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่โดดเด่นและสมควรจะกล่าวถึงมีดังนี้ ประชาชนได้เข้าร่วมในการพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายประชารัฐ ซึ่งถูกนำไปปฏิบัติเพื่อสร้างผลประโยชน์อย่างสูงให้แก่ครอบครัวและชุมชนของประชาชนเอง ประชาชนได้เข้าร่วมในการวางแผนและในการแสวงหาสู่ทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการนำโครงการต่าง ๆ ไปปฏิบัติ เช่น โครงการกองทุนหมู่บ้าน โครงการเคหะประชารัฐสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โครงการประชารัฐพัฒนาการศึกษา โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการธงฟ้าประชารัฐ โครงการสินเชื่อเพื่อ Micro SMEs และโครงการต่อต้านภัยยาเสพติด เป็นต้น

เป็นที่น่าสังเกตว่า โครงการต่างๆของประชารัฐมีบทบาทสำคัญยิ่งในการช่วยให้ประชาชนมีอาชีพ
ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันครอบครัวและชุมชน ช่วยให้ประชาชนมีรายได้และช่วยป้องกันให้เยาวชนไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด โครงการต่างๆของประชารัฐ ช่วยกระตุ้นอย่างแข็งขันให้ประชาชนเข้าร่วมในการพัฒนาประเทศอย่างมากที่สุด ดังจะเห็นได้ว่า โครงการต่างๆ ของประชารัฐได้สร้างความมั่นคงให้แก่สถาบันครอบครัว โดยการใช้ประสบการณ์ในการทำงาน บทเรียนในการเรียนรู้และภูมิปัญญา เพื่อประชาชนสามารถใช้สิ่งเหล่านี้เป็นทุนในการดำเนินชีวิตให้มีความผาสุกอย่างยั่งยืน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

นุชแดง ญ. (2019). การพัฒนาประเทศไทยตามนโยบายประชารัฐกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 13–25. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.2