องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ณัฐภัทร์ ขิงโพธิ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.11

คำสำคัญ:

ตัวบ่งชี้, การบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามสภาพของเพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ผู้วิจัยดำเนินการวิจัย โดยศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้รู้และผู้มีประสบการณ์ เพื่อกำหนดเป็นองค์ประกอบและตัวบ่งชี้นำมาสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงของเนื้อหาโดยการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ได้ค่าดัชนีความเที่ยงตรงตามเนื้อหารายข้อ (IOC) โดยมีค่าอยู่ระหว่าง 0.80 -1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมาจังหวัดชัยภูมิจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดสุรินทร์จำนวน 100 โรงเรียน นำมาวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สลัดปัจจัยเพื่อพิจารณาจัดกลุ่มตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และหมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวร์แมกซ์ จากนั้นผู้วิจัยได้นำตัวบ่งชี้ที่ได้จากการดำเนินการข้างต้นมาสร้างแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัด คือ ผู้บริหารโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ได้รับรางวัลการบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศรางวัลโรงเรียนพระราชทาน จำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยที่ได้จากเกณฑ์การประเมินระดับมาก (x ̅= 3.50) โดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณลักษณะของผู้นำนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างประกอบด้วย 12 องค์ประกอบ 55 ตัวบ่งชี้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของ ตัวบ่งชี้ได้ร้อยละ 63.99 เรียงตามค่าร้อยละของการอธิบายความแปรปรวนจากมากไปหาน้อยตามลำดับ คือ 1) ด้านการสร้างทีมงาน อธิบายความแปรปรวนได้สูงสุด ร้อยละ 9.33 มี 10 ตัวบ่งชี้ 2) ด้านการมุ่งเน้นนักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 9.11 มี 8 ตัวบ่งชี้ 3) ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 7.76 มี 7 ตัวบ่งชี้ 4) ด้านการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.68 มี 4 ตัวบ่งชี้ 5) ด้านการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 5.31 มี 4 ตัวบ่งชี้ 6) ด้านกระบวนการบริหาร อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.73 มี 4 ตัวบ่งชี้ 7) ด้านการประเมินตนเอง อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 4.25 มี 3 ตัวบ่งชี้ 8) ด้านสารสนเทศและเทคโนโลยีอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 14.12 มี 3 ตัวบ่งชี้ 9) ด้านผลลัพธ์การดำเนินงานอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.91 มี 3 ตัวบ่งชี้ 10) ด้านภาวะผู้นำ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.62 มี 3 ตัวบ่งชี้ 11) ด้านการบริหารเพื่อการเปลี่ยนแปลง อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 3.37 มี 3 ตัวบ่งชี้ และ 12) ด้านความมุ่งมันสู่ความสำเร็จ อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 2.76 มี 3 ตัวบ่งชี้ จากการนำตัวบ่งชี้ ที่ค้นพบไปทดสอบกับกลุ่มผู้รู้แจ้งชัดปรากฏว่ามีนัยสำคัญทางสถิติทุกตัวบ่งชี้ ซึ่งสามารถยืนยันได้ว่าตัวบ่งชี้ ทั้ง 55 ตัว มีความเที่ยงตรงตามสภาพ

References

กระทรวงมหาดไทย. (2544). แนวนโยบายการจัดการศึกษาในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระยะ 15 ปี (พ.ศ.2545-2559). กรุงเทพฯ: อาสารักษาดินแดน
กระทรวงมหาดไทย.(2554). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
กิติศักดิ์ กอร้อย. (2550). พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมของนิสิตปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การอุดมศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหา วิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
จักรพงษ์ พร่องพรมราช. (2557). ตัวแปรที่ส่งผลต่อระดับการปฏิบัติและคุณภาพการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). นครราชสีมา : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.
เจริญศักดิ์ ครองเมือง. (2544). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความพร้อมด้านเจตคติในการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของคณะกรรมการบริหารในองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดนนทบุรี.ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
โชติช่วง พันธุเวส. (2551). แม่แบบการจัดการศึกษาเชิงคุณภาพ SIPPO Model. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ณัฏฐ์สิตา ศิริรัตน์. (2551). รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวคิดการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองเพื่อสร้างการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมสำหรับบุคลากรทางการศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทัสนี วงศ์ยืน (2538). การวิเคราะห์ลักษณะความเป็นนักพัฒนาของผู้บริหารสตรีโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปธาน สุวรรณมงคล. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทยในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สยาม ปิยะนราธร. (2542). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ : ดี.ดี.บุ๊คสโตร์.
สุรศักดิ์ ปาเฮ. (2543, มิถุนายน). สู่มิติการเป็นนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. วารสารวิชาการ. 3(6), 70-74.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2536). “ภาวะผู้นำ.” ใน ประมวลสาระชุดวิชาทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. หน่วยที่ 5 – 8 นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2545). “หน่วยที่ 7 ปัญหาและแนวโน้มเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารการศึกษา” ใน สัมมนาปัญหาและแนวโน้มทางการบริหารการศึกษา. หน่วย 5-8. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ. (2554). คู่มือคำอธิบายตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปีงบป
ปธาน สุวรรณมงคล. (2547). การปกครองท้องถิ่นไทยในบริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชประมาณ พ.ศ. 2554.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2550). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทองกมล.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ภาพการพิมพ์.
สำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ. (2554). TQA Criteria for Performance Excellence. กรุงเทพฯ: ศิวิโกลด์มีเดีย.
อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารและจัดการศึกษาของสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cerni, Tom. (2005). The Relationship between Leadership and Information – Processing Styles among School Principals.[Online]. Retrieved October 15, 2009, fromhttp://www.docstoc.com/docs/4580342/educational-leadership-styles.
Hoy, Wayne K. and Miskel, Cecil G. (2001). Educational Admisnitration : Theory Research Practice. (6th ed.). Singapore : McGraw – Hill.
Johnson, D.W. and Johnson, R.T. (2000). “Learning Together and Alone.” Competitive and Individualistic. (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.
Peter, T. J. & Waterman, R. H. (1982).Insearch of excellence. New York: Harper & Harper & Row.
Sallis, E. (2002). Total quality management in education (3rded.). London : Kogan.
Smith, E.W. (1997). The Education Encyclopedia. New Jersey : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-02

How to Cite

ขิงโพธิ์ ณ. (2019). องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหารคุณภาพการศึกษาสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 140–153. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.11