วิวัฒนาการของห้องน้ำที่ส่งผลต่อการแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์

ผู้แต่ง

  • Pakapron Homnan คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.32

คำสำคัญ:

วิวัฒนาการ, ห้องน้ำ, การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบของการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวิถีการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย โดยยึดหลักแนวคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสารจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของห้องน้ำในอดีตจนถึงปัจจุบัน และพฤติกรรมการใช้ห้องน้ำในสังคมเมืองของไทย ร่วมกับการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการโดยใช้ประเด็นคำถามแบบปลายเปิด และการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ 8 องค์ประกอบ คือ 1) การออกแบบบทบาทการแสดง 2) การคัดเลือกผู้แสดง 3) การออกแบบลีลานาฏยศิลป์ 4) การออกแบบเสียง 5) การออกแบบอุปกรณ์ประกอบการแสดง 6) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 7) การออกแบบสถานที่แสดงและฉากการแสดง และ 8) การออกแบบแสง แสดงผลการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ 6 องก์ ได้แก่ องก์ที่ 1 ห้องแห่งอดีต วิถีชีวิตในการขับถ่ายของผู้คนในอดีต องก์ที่ 2 ห้องแห่งความหรูหรา พฤติกรรมมนุษย์ในการใช้ห้องน้ำของกลุ่มคนชั้นสูง องก์ที่ 3 ห้องแห่งข่าวสาร การรับส่งข่าวสารและกระจายข้อมูลไปสู่สังคมภายนอกของห้องน้ำ องก์ที่ 4 ห้องแห่งความลับ การใช้สถานที่ห้องน้ำที่ไม่พึงประสงค์ องก์ที่ 5 ห้องแห่งความเครียด การใช้ห้องน้ำระบายความเศร้าจากสภาวะกดดัน ปัญหารอบด้านทางสังคม และ องก์ที่ 6 ห้องแห่งวิถีสังคมเมือง การใช้ห้องน้ำในชีวิตประจำวันและเป็นศูนย์รวมของการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ในสังคมเมืองของไทย

References

Chaiviset, M. (1999) Social History: Toilet and Sanitary Ware in Thailand (B.E. 2440-2540), Master of Arts Degree in History, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)
_______. (2002). Social History-regarding Toilet and Sanitary Ware in Thailand. Silapawattanatham Magazine (Special ed.). (In Thai)
Champapan, K. (2016). The States in Ayutthaya History: The Debate of Cultural Society and The Political Power in The Present Historiography. Journal of Language and Culture, 35, 41-62. (In Thai)
Charassri, N. (2017). Research Professor of Chulalongkorn University. Interview. (In Thai)
Editorial team of Home and Garden Magazine. (2008) Handbook of Bathroom Layout and Decoration (2nd ed.). Bangkok : Baan Lae Suan Publishing. (In Thai)
Kitiasa, P. (2003). Localism: Review of Theories and Frameworks. Bangkok : Board of National Research Council of Thailand, Department of Social Sciences, National Research Council of Thailand. (In Thai)
Pajaree, P. (2014). Ready-Made Bathroom Design Project to Prevent Falling Accidents in Thai Elderlies. Master of Arts Degree in Packaging Design, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai)
Phra Bamrasnaradura. (1962). 20th Anniversary Memoirs of Ministry of Health (B.E. 2485-2505). Bangkok : Published as the 20th anniversary gift since the Ministry of Health was established on March 10th. (In Thai)
Rumruamsin, K. (Miss). (2018, 9 November). Architecture. Interview. (In Thai)
Settho, R. (1980) Thai Society and Culture. Bangkok: Pikhanet Printing Co., Ltd. (In Thai)
Sinthusek, K. (2012). Bathroom Design (2nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)
Tainuea, M. et al. (1987) Local Sanitation Development 4 Decades of Developing Thai Toilet. Bangkok : Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-05-01

How to Cite

Homnan, P. (2019). วิวัฒนาการของห้องน้ำที่ส่งผลต่อการแสดงนาฏยศิลป์สร้างสรรค์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(2), 141–152. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.32