การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4

ผู้แต่ง

  • วาสนา กีรติจำเริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • เจษฎา กิตติสุนทร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ณัฐกานต์ ศาสตร์สูงเนิน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กนกกร เมตตาจิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • ณัฐธิดา ภูบุญเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.3

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา, การสอนงานและให้คำแนะนำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาของครู 2) ศึกษาความสามารถในการสอนงานและให้คำแนะนำของผู้บริหารสถานศึกษา และอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4 จำนวน 18 คน ที่สมัครเข้าร่วมโครงการคูปองพัฒนาครู ปีงบประมาณ 2559 ในหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินการสอนงานและให้คำแนะนำ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครู และความพึงพอใจของครูที่มีต่อหลักสูตร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก สำหรับความสามารถในการสอนงานและให้คำแนะนำของผู้บริหารสถานศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยจากการประเมินโดยครูเป็นผู้ประเมินและการประเมินตนเองโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนั้นจึงสามารถยืนยันได้ว่าหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษานำไปใช้ได้จริง ปฏิบัติได้จริง โดยการมีส่วนร่วมจากผู้เชี่ยวชาญในการสอนงานและให้คำแนะนำ จึงควรส่งเสริมให้ครูได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชลาธิป สมาหิโต. (2558). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 30(2), 102-111.
ช่อทิพย์ มารัตนะ และวาสนา กีรติจำเริญ. (2561). การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 12(3), 149-162.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
ประยุทธ ไทยธานี. (2559). “ประชุมเตรียมการวิทยากรพี่เลี้ยง.” ใน เอกสารประกอบการประชุมแผนงานการดำเนินโครงการคูปองพัฒนาครู ประจำปีงบประมาณ 2559. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556). STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21. วารสารนักบริหารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 33(2), 49-56.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
เพชรศิรินทร์ ตุ่นคำ. (2559). การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในวิชาเคมีเกี่ยวกับโปรตีน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(3), 217-234.
วาสนา กีรติจำเริญ. (2560). ทักษะและเทคนิคการสอนในศตวรรษที่ 21. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็ม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมเกียรติ ทานอก และคณะ. (2556). การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 (รายงานผลการวิจัย). นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17(2), 201-207.
ราวรรณ์ ทิลานันท์. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
อุไรวรรณ ภูจ่าพล และวาสนา กีรติจำเริญ. (2560). การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ไฟฟ้า และแม่เหล็กไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 243-250.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

กีรติจำเริญ ว., กิตติสุนทร เ., ศาสตร์สูงเนิน ณ., เมตตาจิต ก., & ภูบุญเพชร ณ. (2019). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา สำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 26–38. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.3