ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ปณพักตร์ พงษ์พุทธรักษ์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • กรองทิพย์ นาควิเชตร มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงษ์ ชวนชม มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • อลงกต ยะไวทย์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.16

คำสำคัญ:

เนวทาง, การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของ Krejcie and Morgan เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมจึงใช้กลุ่มตัวย่าง จำนวน 450 คน ด้วยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอน ที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 ใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน และ ศึกษาแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครู และประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยจัดประชุมสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน และใช้แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ ที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 ใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัย พบว่า ระดับการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สามารถพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอน ได้ 7 ปัจจัย คือ 1) ความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) แรงกดดันต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3) การสนับสนุนของผู้บริหาร 4) เจตคติที่มีต่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทางการศึกษา 5) การพัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6) การสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจากเพื่อนร่วมงาน และ 7) เจตคติที่มีต่อความสามารถของตนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 55 และมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุดทุกปัจจัย

References

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : พี.เอ็น. การพิมพ์.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). วงจรการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2560, จาก https://www.ipecp.ac.th/ ipecp/cgi-binn/webpill/unit3/level3-1.html
ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา (EMIS). สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2560, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/
วิจารณ์ พาณิช. (2554). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ตถาดาพลับลิเคชั่น.
ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). รายงานการวิจัยสถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2558, จาก https://www.kroobannok.com.
________. (2557). รายงานผลการศึกษาตัวชี้วัด ICT ด้านการศึกษาในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ปีการศึกษา 2557. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2558, จาก https:// www.moc.moe. go.th/upload-cms/files/ICT(7).pdf
สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สุนันท์ สังข์อ่อน. (2555). หลักสูตรและการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อภิญญา รัตนโกเมศ. (2552). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 3. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 32(4), 180-191.
Atkinson, L. C. (2005). Schools as Learning Organizations: Relationships between Professional Learning Communities and Technology-Enriched Learning Environments. Doctoral Dissertation, University of Oklahoma. Dissertation Abstracts International 3163444.
Becker, H. J., & Riel, M. M. (1999). Teacher Professionalism and the Emergence of Constructivist- Compatible Pedagogies. (Teaching, Learning, and Computing-1998 National Survey, Special Report.). University of California, Irvine : Center for Research on Information Technology and Organizations.
Cradler, J., McNabb, M., Freeman, M., & Burchett, R. (2002). How does Technology Influence Student Learning?. Learning & Leading with Technology, 29(8), 46-49.
Cuban, L., Kirkpatrick, H., & Peck, C. (2001). High Access and Low Use of Technology in High School Classrooms: Explaining and Apparent Paradox. American Educational Research Journal, 38(4), 813-834.
Hallinger, P., & Heck, R. H. (1998). Exploring the Principal’s Contribution to School Effectiveness: 1980-1995. School Effectiveness and School Improvement, 9(1), 157-191.
Hord, S. M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. Austin : Southwest Educational Development Laboratory.
Inan, F. A. (2007). Examination of Factors Affecting Technology Integration in K-12 Schools: A Path Analysis. Doctoral dissertation, University of Memphis. Dissertation Abstracts International 3263701.
Jun, M-K. (2004). The Influence of Quality Technology Support on Teacher’s Effective Technology Integration in Relationship to the Maturity of Schools Work Environment as a Professional Learning Community. Doctoral dissertation, Graduate College of University of Iowa. Dissertation Abstracts International 3157987.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Education & Psychological Measurement, 30(1), 607-610.
Leech, S. N. (2010). Teachers’ Perceptions of Factors Associated with Technology Integration. Doctoral Dissertation, University of Virginia. Dissertation Abstracts International 3437416.
Mauza, C. (2002). Learning to teach with new technology: implications for professional development. Journal of Research on Technology in Education, 35(2), 272-289.
O’Dwyer, L. M., Russell, M., & Bebel, D. (2005). Identifying Teacher, School, and District Characteristics Associated with Middle and High School Teachers’s Use of Technology: A Multilevel Perspective. Journal of Educational Computing Research, 33(4), 369-393.
Shin, W. S. (2010). Individual and Organizational Factors Influencing Korean Teachers’Use of Technology. Doctoral Dissertation, Columbia University. Dissertation Abstracts International 3424909.
Zhao, Y., & Frank, K. A. (2003). Factors affecting technology uses in schools: an ecological perspective. American Educational Research Journal, 40(4), 807-840.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

พงษ์พุทธรักษ์ ป., นาควิเชตร ก., ชวนชม ส., & ยะไวทย์ อ. (2019). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 201–214. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.16