ภูมิปัญญาการผลิตเกลือในแอ่งดินโคราช

ผู้แต่ง

  • เนตรนภา รัตนโพธานันท์ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทแนวคิดและกระบวนการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์จากภูมิปัญญาท้องถิ่น กรรมวิธีการผลิตเกลือในแอ่งดินโคราช ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา การดำเนินงานออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่หนึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยจัดเวทีสนทนาแบบมีส่วนร่วม การสำรวจเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล คือ ปราชญ์ชาวบ้าน และสมาชิกกลุ่มต้มเกลือ ตัวแปรที่ศึกษาคือ องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นการต้มเกลือ ส่วนที่สองการวิจัยเชิงทดลอง ประกอบด้วยการวิเคราะห์กรรมวิธีการผลิตเกลือด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพ และสรรพคุณ ทางเภสัชวิทยาของเกลือ พื้นที่ที่ศึกษาคือ ตำบลพลสงคราม อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา การศึกษาอยู่ในช่วงระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556 ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ศึกษามีการแพร่กระจายดินเค็มเนื่องจากการสลายตัว ตามธรรมชาติของหินอมเกลือ และมีการใช้ประโยชน์จากคราบเกลือที่ผิวดินเพื่อการทำเกลือสินเธาว์เรียกเป็นภาษาท้องถิ่นว่าดินเอียด มีค่าความเค็มปานกลางจากค่าการนำไฟฟ้าของดินที่ชั้น 0-30 เซนติเมตร เท่ากับ 0.46 เดซิซีเมนต่อเมตร ดินมีความ เป็นกลางเท่ากับ 7.1 มีอินทรียวัตถุต่ำมากร้อยละ 0.31 และมีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อพืชในดินของฟอสฟอรัสต่ำเท่ากับ 7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โพแทสเซียมต่ำมากเท่ากับ 21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกลือสินเธาว์ผลิตได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์คือ การละลาย การกรอง การระเหย และการตกผลึก มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนเกลือสินเธาว์ (มผช.1231/2549) คือ มีลักษณะเป็นเม็ดหยาบ มีเนื้อเดียวกัน สีขาว รสเค็มตามธรรมชาติ ไม่พบสิ่งแปลกปลอม ความชื้นร้อยละ 3.49 โซเดียมคลอไรด์ร้อยละ 94.53 สารที่ ไม่ละลายน้ำร้อยละ 4.88 และไม่พบสารปนเปื้อน

 

THE WISDOM IN SALT PRODUCTION IN THE KORAT BASIN

This research aims to study the context, concept, and the scientific learning process used by local wisdom technology in salt production in the Korat basin in Tambon Polsongkram, Amphoe Nonsung, Nakhon Ratrchasima Province. The research procedure was divided into two parts. The first part is the qualitative study which was conducted by the participatory discussion in order to exchange information. The local wisdom people and the member of the rock salt refinery were the informants. The variable of the study was the knowledge of the local wisdom about the rock salt refinery. The second part of the research was concerned with the experimental study which consisted of the analysis of the process of salt production using scientific method to test the biological and pharmaceutical essence of the rock salt. The area used for the experimental study was Tambon Polsongkram, Amphoe Nonsung, Nakhon Ratchasima Province. The duration of the study was from October 1st 2012 to September 30 th, 2013. Results of the study indicated that there was the scattering of the rock salt in the soil area due to the natural solution in the area of the study and there was the use of the salt crystallization at the ground surface which was used to make salt. The soil with the crystallization of salt was called in the local term “Din Aeid” which had the moderate salty value of the electricity conductivity at the depth of 0-30 centimeters. It was equal to 0.46 decisiemen per meter. The soil had the neutral value of 7.1 and had the low organic composite of 0.31 percent. There was low natural nutrient useful for the plant 7 milligrams of phosphorus per a kilogram, and 21 milligrams of potassium per kilogram. The scientific methods used for producing local refined salt were dissolving, refining, evaporating, and crystallizing. The produced salt had passed the standard criteria of community products of rock salt (community product criteria 1231/2006). That is, the salt grain was crude, with the same material, white in color, and with the taste of natural salt. There was not any contaminated foreign substance found. The humidity was 3.49, sodium chloride of 94.53 percent. Non-soluble substance was 4.88 and no contaminated substance was found.

Downloads