การพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้นำวิชาการ ด้านการศึกษาพิเศษ

ผู้แต่ง

  • วาระดี ชาญวิรัตน์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา นครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, ผู้นำวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ, servant leadership, Academic Leader in Special Education

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาภาวะผู้นำใฝ่บริการที่จำเป็นสำหรับผู้นำวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ เพื่อศึกษา ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้นำวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ เพื่อสร้างหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้นำวิชาการ ด้านการศึกษาพิเศษ และเพื่อศึกษาผลการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ตามวัตถุประสงค์ เครื่องมือเป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารศึกษานิเทศก์ และคณาจารย์ด้านการศึกษา พิเศษ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำใฝ่บริการที่จำเป็นสำหรับผู้นำด้านการศึกษาพิเศษ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านคุณธรรมจริยธรรม ได้แก่ความซื่อสัตย์สุจริต ความเชื่อถือความเสียสละ ความอ่อนน้อมถ่อมตน 2) ด้านการประสานสร้างความสัมพันธ์ ประกอบ ด้วย ความเห็นอกเห็นใจ การฟัง การสร้างปฏิสัมพันธ์ และการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ 3) ด้านการพิทักษ์สิทธิ ได้แก่ การเป็น ผู้อารักขาเยียวยา ตระหนักรู้ และเสริมพลังมุ่งพัฒนาคน และ 4) ด้านวิสัยทัศน์ ประกอบด้วย การมองการณ์ไกล การสร้าง มโนทัศน์ การโน้มน้าว การคิดสร้างสรรค์

2. ภาวะผู้นำใฝ่บริการที่ควรได้รับการส่งเสริมและพัฒนา ด้านวิสัยทัศน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ปฏิบัติงานอย่างดีเลิศ การริเริ่มให้มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการรูปแบบเชิงรุก ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคุมระดับต่ำแบบประชาธิปไตย กำหนด ภาพอนาคตที่เปลี่ยนแปลง ด้านการพิทักษ์สิทธิ ช่วยฟื้นฟูสภาวะจิตใจให้สงบและผ่อนคลาย ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยใช้ชุมชน เป็นฐาน รณรงค์พิทักษ์สิทธิของเด็กทุกคนโดยเสมอภาค ช่วยให้ผู้อื่นเอาชนะข้อจำกัดและพัฒนาจุดเด่น ส่งเสริมให้ผู้ร่วมงาน รับผิดชอบตามความถนัด ด้านการประสานสร้างความสัมพันธ์ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายและท้าทายสร้างความรู้สึกของ กลุ่มวิชาชีพ ค้นหาความสามารถที่ซ่อนอยู่ของผู้ตามและสนับสนุนให้แสดงออกมา ทำหน้าที่บริการอย่างดีที่สุดรู้เท่าทันอารมณ์ เป็นผู้ฟังที่ดีด้านคุณธรรมจริยธรรม ประกอบด้วย เชื่อมั่นในศักยภาพที่มีอย่างไม่จำกัดของแต่ละบุคคลและยอมรับเขาอย่างที่ เขาเป็น ขยันอุทิศตนช่วยเหลือและแก้ปัญหาของผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างเป็นระบบ ให้อภัยในความผิดพลาดของ เพื่อนร่วมงานให้โอกาสแก้ไขขอโทษเสมอเมื่อมีการละเมิดผู้อื่น ตระหนักว่าต้องมีความรู้และเชี่ยวชาญในหลักวิชาการศึกษาพิเศษ

3. หลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้นำวิชาการด้านการศึกษาพิเศษ เป็นหลักสูตรการฝึกอบรมมีความ เหมาะสม อยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.46, SD. =. 48)

4. ผลการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการจากการอบรมตามหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการ พบว่า ผู้เข้ารับการอบรม มีความรู้หลังการฝึกอบรมมากกว่าก่อนการฝึกอบรมก่อนการอบรมมีความรู้หลังการอบรมอยู่ในระดับดี ค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.25 ความพึงพอใจหลังการอบรมอยู่ในระดับมาก (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.31, SD. = .26)

ผู้วิจัยเสนอว่า ควรมีการนำหลักสูตรการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการที่พัฒนาขึ้นนี้เป็นเสมือนเครื่องมือหนึ่งเพื่อประกอบ การตัดสินใจประเมินบุคลกรเข้าสู่ตำแหน่งผู้นำด้านการศึกษาพิเศษ

 

THE DEVELOPMENT OF SERVENT LEADERSHIP FOR ACADEMIC LEADER IN SPECIAL EDUCSTION

This research was aimed to create the curriculum on developing servantleadership and to implement the developed curriculum. The research consisted of 4 phases : 1) analyzed the documentsand improved the criteria of servant leadership content by interviewing the professionals 2) did a surveyin order to explore the aspect that should be developed 3) developed the servant leadership curriculum and 4) implemented the developed curriculum. The data were collected by interviewing the professionals and by doing questionnaires: lecturers, supervisor and administratorsin the area of special education. The data were analyzed by the use of descriptive statistics, percentage, mean and standard deviation.

The findings revealed that

1. The servant leadership needed for special educational leader consist of 4 area aspects : 1) Moral and ethical : integrity, credibility, sharing and humility 2) Interaction and collaboration : empathy, listening, interaction, crated community 3) Advocating : stewardship, healing, awareness, empowerment and people development. 4) Vision : foresight, conceptualized, persuade and creative.

2. Servant leadership should be developed : 1) the vision about inspiring people : encouraging them to work as proactive role, using local wisdom, controlling in a lowlevel and analyzing trends for the future of special education 2) the avocation : healing, community-based rehabilitation, promoting equality of right for everyone, overcoming the barriers, calling for the agreement on the convention on the rights of persons with disabilities 3) the collaboration and interaction : creating a sense of professional groups, searchingthe capabilities of colleagues and encouraging them to use it, doing a sense of humor, knowing self- emotions and the emotions of others and doing the best practices.

3. The appropriateness of developedcurriculum was at high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.46, S.D. = .48).

4. After implementationof the servant leadership curriculum, the knowledge and understanding of the participantsincreased 18.25 percent. The satisfaction on training course was assessed in a good level.

The researchers suggest that the servant leadership curriculum should be used as one of the instrument for making a decision on the position of a leader.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-21