ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์ กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร สังกัดที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อรอุมา ป้องศรี คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด
  • สุรศักดิ์ ชะมารัมย์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร, ที่ทำการปกครองอำเภอ, Human Resource Management, the Efficiency of Official Performance, District Government Office

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการ ปกครองอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด 2) ศึกษาระดับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัด ร้อยเอ็ด และ 3) ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัด ที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรของที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 199 คน ได้มาจากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบ one sample และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดอยู่ในระดับมากกว่า ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2. การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดอยู่ในระดับต่ำกว่าร้อยละ 70 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. การบริหารทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดที่ทำการปกครองอำเภอในเขตจังหวัด ร้อยเอ็ดมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกระดับปานกลาง (r= .568) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

THE RELATIONSHIP BETWEEN HUMAN RESOURCE MANAGEMENT AND THE EFFICIENCYOF OFFICIA PERFORMANCE OF DISTRICT GOVERNMENT OFFICES IN ROI ET PROVINCE

The objectives of this survey research were 1) to study the efficiency’s level of official performance of District Government Offices in Roi Et Province, 2) to study human resource management’s level of level of District Government Offices in Roi Et Province, and 3) to study the relationship between human resource management and the efficiency of official performance of District Government Offices in Roi Et Province. The samples were 199 officials which calculated by Taro Yamane’s formula at the confident level at 95%. The instruments used in the research were questionnaires. Statistical tools employed were percentage, mean, standard deviation, one sample t-test, pearson product moment correlation coefficient and content analysis to analyze qualitative data.

The findings of this research could be concluded as the following;

1. The efficiency of official performance of District Government Offices in Roi Et Province was higher than 70% at .05 level of statistical significance.

2. The human resource management’s level of level of District Government Offices in Roi Et Province was higher than 70% at .05 level of statistical significance.

3. The relationship between human resource management and the efficiency of official performance of District Government Offices in Roi Et Province was positive at the medium level (r= .568) which was statistically significant at the .01 level.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-07-21