ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • ฐานิตา เฉลิมช่วง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา
  • อัมรินทร์ นาคณัฐเศรษฐ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมือง, ประชาชน, เทศบาล, Political participation, people, municipality

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาล จังหวัดฉะเชิงเทรา 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาลจังหวัดฉะเชิงเทราและ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาลจังหวัดฉะเชิงเทรากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในระดับเทศบาลจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยมีข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.22 เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.48 รองลงมา คือ ปัจจัยด้าน สิ่งแวดล้อมทางการเมือง มีค่าเฉลี่ย 4.39 ปัจจัยด้านบุคคล มีค่าเฉลี่ย 4.03 และปัจจัยด้านสิ่งเร้าทางการเมืองอยู่ในระดับ น้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.99 ตามลำดับ

2. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.31 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การใช้สิทธิเลือกตั้งอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.36 รองลงมา คือ ด้านการติดต่อเป็นการเฉพาะ มีค่าเฉลี่ย 3.89 ด้านการร่วมกิจกรรมของชุมชน มีค่าเฉลี่ย 2.81 และด้านการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งอยู่ในระดับน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.16 ตามลำดับ

3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในระดับเทศบาลจังหวัดฉะเชิงเทรามากที่สุด คือ ปัจจัย ด้านสิ่งแวดล้อมทางการเมือง พบว่าการไปใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชนเป็น หน้าที่ตามกฎหมายอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านสิ่งเร้าทางการเมือง พบว่า ข้อมูลข่าวสารจากเทศบาลและผู้นำท้องถิ่นส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ใน ระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการพัฒนาความสัมพันธ์ทางสังคม พบว่า ค่านิยมเก่า เรื่องทำตามคำสั่ง ยึดระเบียบ เคารพอาวุโส มีความจงรักภักดี ถูกต้องอยู่แล้วไม่ควรเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมากที่สุด และปัจจัยสุดท้าย คือ ปัจจัยด้านบุคคล พบว่า บุคคลรอบข้างมีอิทธิพลต่อความสนใจเกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่นของผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ในระดับมากที่สุด

 

FACTORS AFFECTINGf PEOPLE’S POLITICAL PARTICIPATION AT MUNICIPAL LEVEL IN CHACHOENGSAO PROVINCE

The objectives of this research were 1) to study the level of factors on people’s political participation at municipal level in Chachoengsao Province 2) to investigate the level of people’s political participation at municipal level in Chachoengsao Province, and to study the factors on people’s political participation at municipal level in Chachoengsao Province. Samples were 400 electorates at the Chachoengsao Municipality. The research instruments used for the data collection were questionnaires of five rating. The statistics used for data analysis were percentages, frequency, mean, standard-deviation and multiple regression analysis.

The research revealed that:

1. Factors on people’s political participation as a whole were found to be at the highest level (mean of 4.22). In particular, it was found that factors on development of social relation had affected people’s political participation at the highest level (mean of 4.48). For the second highest level, it was those of political environment (mean of 4.39). Political stimulus was at a lowest level (mean of 3.99) respectively.

2. The people’s political participation as a whole was at the moderate level, (mean of 3.31). In particular, it was found that electorates’ going to the poll was in the highest level (mean of 4.36). The specific contact was at the second highest level (mean of 3.89). For the community activity participation (mean of 2.81) and election campaign (mean of 2.16) were at the lowest level respectively.

3. For factors affecting people’s political participation in the municipal level, they were political environment, political stimulus, development of social relationship, and related person respectively. For factors of political environment, it was found that people’s going to the poll as legal duty was at the highest level. For political stimulus, it was found that information provided by the municipality and local leaders affected people participation at the highest level. For development of social relationship, people’s idea summarized by questionnaires which expressed the old value on regulation, discipline, seniority, and loyalty as the righteous concept was at the highest level. For related person, it was found that surrounding people played an important role in shaping people’s interest on local politic at the highest level.

Downloads