ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการเลือกผู้สอบบัญชี: กรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิชญ์ณัฏฐ์ เสงี่ยมกลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
  • ชุติมา นาคประสิทธิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

คำสำคัญ:

การกำกับดูแลกิจการ, การเลือกผู้สอบบัญชี, Corporate Governance, Auditor Choice

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับการเลือกผู้สอบบัญชีของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยตัวแปรของการกำกับดูแลกิจการในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย 3 ตัวแปร ได้แก่ โครงสร้างการถือหุ้น สัดส่วนกรรมการอิสระ และการควบรวมตำแหน่งของประธานกรรมการบริษัทกับประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร ในขณะที่ตัวแปรเกี่ยวกับการเลือกผู้สอบบัญชีเป็นตัวแปรหุ่น ซึ่งประกอบด้วย การเลือกผู้สอบบัญชีในกลุ่ม BIG4 และ การเลือกผู้สอบบัญชีอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่ม BIG4 (NON-BIG4) ส่วนตัวแปรควบคุม ได้แก่ ขนาดของบริษัท ข้อมูลที่ใช้ในการ ศึกษารวบรวมมาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 394 บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลงบการเงิน สิ้นสุดรอบระยะเวลาบัญชี พ.ศ. 2556 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression) ประเภท Binary Logistic จากการศึกษาพบความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างโครงสร้างการถือหุ้นกับการเลือก ผู้สอบบัญชี BIG4 ซึ่งเป็นไปได้ว่าบริษัทที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก ยิ่งสูงขึ้นจะมีความเป็นไปได้ใน การจ้างผู้สอบบัญชีที่มีคุณภาพ (BIG4) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (สัดส่วนการถือหุ้น ของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 10 รายแรก) กับผู้ถือหุ้นรายย่อย นอกจากนั้นยังพบความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างขนาดของบริษัทกับการเลือกผู้สอบบัญชี BIG4 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยอื่นที่กล่าวว่ากิจการที่มีขนาดใหญ่จะมีความ สามารถในการจ้างผู้สอบบัญชีที่มีคุณภาพมากกว่ากิจการที่มีขนาดเล็กทั้งนี้ผลงานวิจัยจะช่วยนักลงทุนในการพิจารณาความ เชื่อถือได้ของงบการเงินที่จัดทำโดยบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ นอกจากนี้ผลงานวิจัยยังเป็นการเพิ่มบางมุมมองของทฤษฎีตัวแทน ว่าบริษัทที่มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นไปได้ที่จะเลือกผู้สอบบัญชีจาก BIG4

 

THE RELATIONSHIP BETWEEN CORPORATE GOVERNANCE AND AUDITOR CHOICE: A CASE STUDY OF LISTED COMPANIES IN THE STOCK EXCHANGE OF THAILAND

This study examined the relationship between corporate governance and auditor choice of listed companies in the Stock Exchange of Thailand (SET). The three variables used as a proxy of corporate governance consisted of ownership structure, CEO duality and board independence while auditor choice was a dummy variable, selecting the BIG4 or the NON-BIG4. Additionally, firm size was a control variable in this study. Data was collected from the 394 companies listed in the Stock Exchange of Thailand (SET) for the period of2013. In order to verify the relationship between those variables, a logistic regression analysis was used in this study. The results indicated that ownership structure has a significant and positive relationship with auditor choice. Such a result implies that firms with controlling shareholders rely on the BIG4 to alleviate agency conflicts with minority shareholders. Moreover, the results also revealed that firm size has a significant and positive relationship with auditor choice. This is consistent with other research that found that large businesses are more able to hire a larger, higher-quality auditor than smaller businesses. Importantly, the results of this study will help potential investors to consider creditability of financial statements prepared by Thai listed companies with controlling shareholders. Empirically, the results alsoenrichsome viewpoints of Agency Theory thatlisted companies with controlling shareholdersprobably choose an auditor belonging to the BIG4.

Downloads