ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ของบ้านพักเด็กและครอบครัว กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • ประพล มิลินทจินดา มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร
  • ไชยา ยิ้มวิไล มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร
  • อลงกต แผนสนิท มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพมหานคร

คำสำคัญ:

ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงาน, บ้านพักเด็กและครอบครัว, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, results, shelter for children and families, the northeast of Thailand

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษา ความสัมพันธ์ของปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ และแนวทางการบริหารงานตามยุทธ์ศาสตร์ความมั่นคง ของมนุษย์ของบ้านพักเด็กและครอบครัว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสม ประกอบด้วย การวิจัยเชิง ปริมาณ ประชากร คือ บุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 279 คน สถิติ ที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Pearson และการ วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ดำเนินการสัมภาษณ์หัวหน้าบ้านพักเด็กและ ครอบครัว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เครื่องมือที่ใช้คือเป็นแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า

ผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ของบ้านพักเด็กและครอบครัว ในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือ อยู่ในระดับสูง ที่ระดับค่าเฉลี่ย 3.79 โดยที่ ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลสัมฤทธิ์ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ของบ้านพักเด็กและครอบครัว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านองค์การ และปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมส่งต่อผลสัมฤทธิ์ ในการบริหารงานตามยุทธศาสตร์ความมั่นคงของมนุษย์ของบ้านพักเด็กและครอบครัว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บ้านพักเด็กและครอบครัว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประสบปัญหาด้านบุคลากรที่มีจำนวนจำกัด ซึ่งไม่สอดคล้อง กับภาระงานที่มีเพิ่มขึ้นมากขึ้น อีกทั้งการที่มีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย บางครั้งทำให้เกิดมีความเสี่ยงต่อสวัสดิภาพของบุคลากร และผู้รับบริการ การประสานงานระหว่างหน่วยงานภายในกระทรวงเองยังเกิดปัญหาในการประสานงาน ควรที่จะพิจารณาเพิ่ม กรอบอัตรากำลัง ให้มีจำนวนเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน และควรมีแผนการทำงานและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละ หน่วยงานให้ชัดเจน รวมถึงการบูรณาการทำงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

RESULTS OF HUMAN SECURITY STRATEGIC ADMINISTRATION OF SHELTER FOR CHILDREN AND FAMILIES, DEPARTMENT OF CHILDREN AND YOUTH, MINISTRY OF SOCIAL DEVELOPMENT AND HUMAN SECURITY IN THE NORTHEAST OF THAILAND

This research to level of the results of human security strategic administration of shelter for children and families, to factors associated of the results of human security strategic administration of shelter for children and families, to factors that influence of the results of human security strategic administration of shelter for children and families and to administration of the results of human security strategic administration of shelter for children and families. The population is an officer of shelter for children and families in The Northeast of Thailand. A sample of 279 people. Statistics on the frequency, percentage, average, standard deviation, statistical correlation of Pearson, and multiple regression. Qualitative research The researcher interviews with head of Shelter for Children and Families or representative The instrument was a questionnaire. The results showed that.

The level of results of human security strategic administration of shelter for children and families in the northeast of Thailand is high at the 3.79. Factors personal, organization and environmental a positive relationship with results of human security strategic administration of shelter for children and families in the northeast of Thailand and influence of the results of human security strategic administration of shelter for children and families in the northeast of Thailand.

Shelter for children and families in the northeast of Thailand faced with limited personnel. This is not consistent with the workload has increased even more. In addition, a wide range of target groups. Sometimes cause a risk to the welfare of staff and clients. Coordination between departments within the Ministry itself, the problem of coordination. Should consider increasing personnel. A sufficient number of workers. And should have a work plan and a division of roles of each agency clear. The integration work between the various agencies involved.

Downloads