การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา

ผู้แต่ง

  • Chothip Marattana 0848331071
  • Wasana Keeratichamroen 0841020893

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา, ผลการเรียนรู้, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, คุณภาพชิ้นงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 70 และศึกษาคุณภาพชิ้นงานจากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนบ้านประคำ อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 13 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ วัสดุและสมบัติของวัสดุ จำนวน 4 แผน 16 ชั่วโมง และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินคุณภาพชิ้นงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ การทดสอบค่าที (t-test) ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สำหรับการประเมินคุณภาพชิ้นงานของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา พบว่า คะแนนคุณภาพชิ้นงานของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก คิดเป็นร้อยละ 81.06 และมีคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 15.75 ถึง 16.75 คะแนน

Author Biography

Wasana Keeratichamroen, 0841020893

อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

References

จำรัส อินทลาภาพร, มารุต พัฒผล, วิชัย วงษ์ใหญ่ และ ศรีสมร พุ่มสะอาด. (2558). การศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาสำหรับผู้เรียนระดับประถมศึกษา. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 8(Suppl. 1), 61-73.
จินดาพร หมวกหมื่นไวย. (2560). ปรับกิจกรรมเก่าให้เข้ากับเทรนด์สะเต็ม. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 45(205), 50-53.
ชลาธิป สมาหิโต. (2558). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 30(Suppl. 2), 102-111.
นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา ความสามารถในการแก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
บุญชุม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
พลศักดิ์ แสงพรมศรี. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและเจตคติต่อการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษากับแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเคมีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
เพชรศิรินทร์ ตุ่นคำ. (2559). การเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในวิชาเคมีเกี่ยวกับโปรตีน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 16(Suppl.3), 217-234.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). สะเต็มศึกษาประเทศไทยและทูตสะเต็ม (STEM Education Thailand and STEM Ambassadors). วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(Suppl. 185), 14-18.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2556). กิจกรรมรถไฟเหาะ. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(Suppl. 185), 38-41.
ราวรรณ์ ทิลานันท์. (2558). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานสะเต็มศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.
โรงเรียนบ้านประคำ. (2560). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). นครราชสีมา : โรงเรียนบ้านประคำ. อัดสำเนา.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557). สะเต็ม. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สมบูรณ์ ตันยะ. (2556). วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา. นครราชสีมา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 6. (2560). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหารการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2560, จากลุ่มสารสนเทศ สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เว็บไซต์: https:// data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=3006
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพมหานคร : สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2558). สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 17(Suppl. 2), 201-207.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 43(Suppl. 192), 14-17.
อภิสิทธิ์ ธงไชย. (2556). เทคโนโลยีและวิศวกรรมคืออะไรในสะเต็มศึกษา. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 42(Suppl. 185), 35-37.
อุไรวรรณ ภูจ่าพล และ วาสนา กีรติจำเริญ. (2560). การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ไฟฟ้า และแม่เหล็กไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(Suppl. 1), 243-250.
อุไรวรรณ ภูจ่าพล. (2560). การศึกษาผลการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ ไฟฟ้าและแม่เหล็กไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับ การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
Ceylan, S., & Ozdilek, Z. (2015). Improveing a Sample Lesson Plan for Secondary Science Courses within the STEM Education. Procedia-Social and BehavioralSciences, pp. 223-228.
Ebel, R. L., & Frisbie, D. A. (1986). Essentials of Educational Measurement. New Jersey : Prentice-Hall.
Quang, L. T., Hoang, L. H., Chaun, V. D., Nam, N. H., Anh, N. T., & Nhung, V. T. (2015). Integrated Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) education through active experience of designing technical toys in Vietnamese schools.
Roberts, A. (2013). STEM is here. Now what? Technology and Engineering Teacher, September, pp. 22-27.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07