ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ไพศาล ไกรรัตน์ 0818271787
  • จิตติ กิตติเลิศไพศาล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ปณิธี การสมดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
  • ชาติชัย อุดมกิจมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

คำสำคัญ:

ตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างตัวแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างตัวแบบที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงปริมาณและนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประชากรที่ศึกษาเป็นเทศบาลตำบล จำนวน 442 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 กลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ นายกเทศมนตรีหรือปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และผู้ปฏิบัติงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 521 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มี 5 ปัจจัย ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำองค์การ ด้านสมรรถนะองค์การ ด้านแรงจูงใจในการทำงาน ด้านการมีส่วนร่วมองค์การ และด้านประสิทธิผลองค์การ และเมื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ตัวแบบมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงปริมาณ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร และกำหนดนโยบายให้การพัฒนาระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่มีผลต่อคะแนนประเมินประสิทธิผลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (LPA) เพื่อสร้างแรงจูงใจสามารถพัฒนางานอย่างเป็นระบบ และเกิดความยั่งยืน

References

กรมอนามัย. (2560). แผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์บริการวิชาการมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.
เขียว อั้นเต้ง. (2553). แนวทางการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดี : การถอดบทเรียนจากประสบการณ์ผู้บริหารท้องถิ่นดีเด่น. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
จารุวรรณ ทับเที่ยง และคณะ. (2555). การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมของเทศบาลในประเทศไทย ปี 2555. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 38(1), 75-88.
บุญทิพย์ ฐานวิเศษ. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบล กรณีศึกษา: จังหวัดสุราษฎร์ธานี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง วิทยาลัยการปกครอง มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
บุญแสง ชีระภากร. (2552). ภาวะผู้นำและการบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ภาคนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร.
บุณยวีร์ ไชยอรรถนิธิพร. (2553). คุณลักษณะผู้นำท้องถิ่นที่พึงประสงค์ของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองส่วนท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นสู่ผลสัมฤทธิ์: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพมหานคร : ทิพย์วิสุทธิ์.
วีระศักดิ์ สืบเสาะ. (2551). การจัดการสิ่งปฏิกูลของเทศบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ.
สำนักปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2556-2559. นครราชสีมา : ทัศน์ทองการพิมพ์.
สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ. (2561). ผลการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพระบบบริการอนามัยสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2559. สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2561, จาก http://foodsan.anamai.moph.go.th /ewt_dl_link.php?nid=798&filename=index_EHA
Grady, M. L., Watson, W. W., & Zirkel, P. A. (1989). A review effective schools research as it relates to effective principles. UCEA Monograph series Temp, Arizona : The University Council for Educational Administration.
Hewitt Associates. (2003). The best employees in Hongkong. Hewitt Quaterly Asia-Pacific, 2(4), 11.
Schumaker, R. E., & Lomax, R. G. (1996). A Beginner’s guide to structural equation modeling. New Jersey : Lawrence Erlbaum.
Sim, J., & Wright, C. C. (2002). Research in health care : concepts, designs and methods. Cheltenham : N. Thornes.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07