ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย โรงเรียนอนุบาลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท

ผู้แต่ง

  • ชุติมน กระแสร์สินธุ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อินทิรา รอบรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, บทเรียนมัลติมีเดีย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองตามแบบแผนการวิจัย One group pretest-posttest design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ วิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 32 คน โดยใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วยการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคอมพิวเตอร์แบบร่วมมือโดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย และบทเรียนมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์ ทำการทดสอบผลงาน E-book เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR20 ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 หาค่าร้อยละ และทดสอบเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนด้วยการทดสอบ Paried-sample t-test หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความคลาดเคลื่อนหรือความแปรปรวน และ p-valueผลการวิจัยพบว่า คะแนนผลการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้บทเรียนมัลติมีเดีย วิชาคอมพิวเตอร์ ด้านกระบวนการ จากการทำใบงานหลังเรียน (E1) เท่ากับ 85.68 คะแนนด้านผลลัพธ์ จากการทำแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียน (E2) เท่ากับ 81.56 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และ มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียน (gif.latex?\bar{X}=16.31, S.D.=2.08) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\bar{X}=12.72, S.D.=1.72) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.
ณรงค์กร สุทธิศักดา. (2558). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์เรื่องการสร้างเว็บเพจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกับที่ได้รับการเรียนรู้แบบปกติ. สารนิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
ณัฐกร สงคราม. (2553). การออกแบบและพัฒนามัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2554). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, วารุณี เกตุอินทร์ และ สุวรรณี แสงอาทิตย์. (2555). การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย เรื่อง การพยาบาลโรคหัวใจในเด็ก สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(2), 21-29.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
อินทิรา รอบรู้. (2559). การพัฒนาบทเรียนมัลติมีเดียเพื่อการสาธิตการใช้โปรแกรมประยุกต์เรื่องการผลิตสื่อ.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(2), 250-258.
Fitz-Gibbon, & Carol, T. (1987). How to Design a Program Evaluation. Newbury Park : Sage.
Johnson. D. W., & Johnson. R. T. (1974). Instructional goal structure : Cooperative competitive or individualistic. Review of Educational Research, 44, 213-240.
Mehrens, W. A., & Lehmann, I. J. (1984). Measurement and education in evaluation and psyschology. New York : Holt, Rinehart and Winston.
Silverman, Stan et al. (2002) Standards for Online Learning. Retrieved August 8, 2017, from : http://iris.nyit.edu/tbls/TheFourLevelsofOnlineCoursesFinal.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07