การพัฒนารูปแบบการจัดการฟุตบอลอาชีพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • กิตติวงค์ สาสวด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
  • ประสาน นันทะเสน มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.5

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการฟุตบอลอาชีพ, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารสโมสรฟุตบอลอาชีพ 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการฟุตบอลอาชีพ และ 3) พัฒนารูปแบบการจัดการฟุตบอลอาชีพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บรวบรวมข้อมูกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นสำคัญ คือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารสโมสร ผู้ฝึกสอน นักฟุตบอล และผู้เข้าชมในสถนามแข่งขันฟุตบอลออมสิน ลีก (ไทยลีก 3) ปี 2018 ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 101 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่วิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง โดยใช้สูตรของ Kendall ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 400 ราย ด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาด้านสนามแข่งขันคือไม่ได้มาตรฐาน และไม่มีสนามเป็นของตนเอง ด้านงบประมาณไม่เพียงพอ ด้านการจัดการ ด้านทีมยังทำผลงานไม่ดี และด้านแผนการดำเนินงานของสโมสรยังไม่เป็นระบบ ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการฟุตบอลอาชีพที่สำคัญมากที่สุด คือ การนำเสนอลักษณะทางกายภาพ รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด และบุคลากร

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว รายได้รวมปี 2556-2559. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2561, จาก https://www.mots.go.th/main.php?filename=index
คมกฤช รัตตะมณี และสิทธิ์ ธีรสรณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยในการร่วมมือเป็นพันธมิตรกับสโมสรฟุตบอลอาชีพในต่างประเทศ. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 10(1).
จำลอง อนันตสุข. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกกรณีศึกษา สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์. วารสารวิทยบริการ, 23(3), 165-173.
ชาญวิทย์ ผลชีวิน. (2555). ยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาไปสู่ความสำเร็จของฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย. วารสารคณะพลศึกษา, 15(2), 93-103.
ฐพงศ์ บุญญานุวัตร. (2559). กีฬากับการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม. มิติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2561, จาก https://www.matichon.co.th/columnists/news_287377
ไทยพลับลิก้า. (2561). ฟุตบอลโลก “เจ้าภาพ-FIFA” ใครได้-ใครเสีย. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก https:// thaipublica.org/2018/06/world-cup-2018-fifa-russia-economic-impact/
นภดล ร่มโพธิ์. (2556). ประเด็นด้านการบริหารการปฏิบัติการกับฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 36(139), 8-11.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒ, 18, 375-396.
ปิยะ ลิ้มเจริญ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าชมฟุตบอลลีกของสโมสรที่มีการแข่งขันในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
รัฐชาติ ทัศนัย. (2559). บทบาทของสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ยูไนเต็ดในการพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(3), 77-86.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยามสปอร์ตออนไลน์. (2561). ฟุตบอลไทย. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561, จาก https://www.siamsport.co.th/ football/thaileague3
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว Tourism Economic Review, 6(ตุลาคม-ธันวาคม), 68-70.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2559). Startup Thailand 4.0. วารสารไทยคู่ฟ้า, 22-26.
สิทธิ วงศ์ทองคำ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสโมสรฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก. วารสารสุทธิปริทัศน์, 31(99), 160-173.
สุพจน์ งดงาม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการทีมฟุตบอลลักภูมิภาคดิวิชั่น 2 เขตกรุงเทพมหานครและภาคกลาง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 4(1), 22-29.
อติ อนัคฆมณี. (2556). กลยุทธ์ทางการตลาดสาหรับสโมสรฟุตบอลในไทยพรีเมียร์ลีก. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
Bartol, K.M., & Martin, D. C. (1991). Management. NewYork : McGraw.
Cohen, J. M., & Uphoff, T. (1977). Rural Participation: Concepts and Measures for Project Design. New York : McGraw-Hall.
Kendall, M. G. (1938). A New measure of rank correlation. Biometrika, 30(1/2), 81-93.
Kotler, P. (1997). Marketing management : analysis, planning, implementation and control (9th ed.) New Jersey : A simon & Schuster.
Kurtzman, J. (2005). “Sports Tourism Categories”. Journal of Sport Tourism, 10(1), 15-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

สาสวด ก., & นันทะเสน ป. (2019). การพัฒนารูปแบบการจัดการฟุตบอลอาชีพเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 54–67. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.5