ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร ต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วิชชุดา สุขก้อน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา
  • ระบิล พ้นภัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.15

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์กร, พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา ที่มีอายุการทำงาน 3-5 ปี จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของ Cochran ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า โดยภาพรวมคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา จำแนกเป็น คุณภาพชีวิตในการทำงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม (β=0.16, p<0.01) ด้านโอกาสก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน (β=0.11, p<0.01) ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น (β=0.14, p<0.01) และด้านความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม (β=0.14, p<0.01) และความผูกพันต่อองค์กร 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความรู้สึก (β=0.19, p<0.01) ด้านการคงอยู่ (β=0.17, p<0.01) และด้านบรรทัดฐานทางสังคม (β=0.23, p<0.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสามารถร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา เท่ากับ ร้อยละ 59.70 (R2=59.70)

References

ชินวัฒน์ ศักดิ์พิชัยมงคล. (2554). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรและความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา: พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท ซีว่า โลจีสติกส์ (อิสเทิร์น ซีบอร์ด). ภาคนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
ทิพย์สุคนธ์ จงรักษ์. (2556). อิทธิพลของคุณลักษณะงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ความพึงพอในในงาน และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.
ธีรวีร์ รุจพงษ์จันทร์ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2558). ปัจจัยด้านคุณภาพชีวิตการทำงานบรรยากาศองค์กรและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของบุคลากร บริษัท เมืองโบราณ จำกัด. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานตรินทร์, 27(Suppl. 1), 30-38.
นภวรรณ คณานุรักษ์. (2554). บทบาทผู้นำองค์กรที่มีพนักงานวิชาชีพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 31(Suppl. 1), 123-133.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางการปฏิบัติสู่ความสำเร็จ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.
ปกรณ์ ลิ้มโยธิน. (2557). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรในธุรกิจโรงแรม. วารสารหาดใหญ่วิชาการมหาวิทยาลัยหาดใหญ่, 3(Suppl. 2), 155-165.
ปราณี หลำเบ็ญสะ (2559). การหาคุณภาพของเครื่องมือวัดและประเมินผล. ใน โครงการบริหารวิชาการ ท่าสาบโมเดล สาขาการวัดและประเมินผล. ยะลา : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลันราชภัฏยะลา.
ปาริชาติ ปานสำเนียง. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพมหานคร.
ปิยธิดา วังศพ่าห์. (2559). การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลคุณภาพชีวิตในการทำงานความผูกพันต่อองค์กรและการสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรมระดับ 5 ดาวแห่งหนึ่งย่านเจริญนคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
พงศธร สุทธิพงษ์. (2552). การศึกษาทัศนคติที่มีความสัมพันธ์กับการเลือกซื้อประกันชีวิตของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.
ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ความยุติธรรมในองค์กร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกรณีศึกษา: มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
เศรษฐศาสตร์ ไชยแสง. (2553). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยราชพฤกษ์ (รายงานผลการวิจัย). นนทบุรี : วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สุดารัตน์ ครุฑสึก. (2557). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานความผูกพันต่อองค์กรและการสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.
สุรีพร พุฒพันธ์. (2553). ความผูกพันต่อองค์การและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของผู้จัดการสาขาในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.
สุวรรณี จริยะพร. (2559). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรวิทยาลัยทองสุข. วารสารสมาคมนักวิจัย , 21(Suppl. 1), 227-238.
Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). The Measurement and Antecedents of Affective, Continuance, and Normative Commitment to the Organization. Journal of Occupational Psychology, 63(Suppl. 10), 1-18.
Allen, T. D., & Rush, M. C. (1998). The effects of organizational citizenship behavior on performance judgments: A field study and a laboratory experiment. Journal of Applied Psychology, 83(Suppl. 2), 247-260.
Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York : Wiley.
Gordon, J. R. (1991). A Diagnostic Approach to Organizational Behavior. Massachusetts : McGraw-Hill.
John-Conley, C. D. (2009). Using Community-based Participatory Research in the Development of a Consumer-driven Cultural Competency Tool. Degree of Doctor of Philosophy, Program Authorized to Offer Degree: School of Nursing, University of Washington, United States.
Kogan, L. (2004). Mediating effects of affective commitment and perceived organizational support on the relationship between procedural justice and organizational citizenship behavior. Doctoral dissertation, Alliant International University, California School of Professional Psychology, San Diego.
Organ, D. W., & Bateman, T. S. (1991). Organizational behavior (4th ed.). Homewood : Irwin.
Organ, D. W., Podsakoff, P. M., & MacKenzie, S. B. (2006). Organizational citizenship behavior it’s nature, antecedents, and consequences. London : Sage Publications.
Riggio, R. E. (2002). Introduction to Industrial/Organizational Psychology (4th ed.). NJ : Prentice-Hall.
Walton, R. E. (1975). “Critiria for Quality of Work Life.” The Quality of Working Life. New York : Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

สุขก้อน ว., & พ้นภัย ร. (2019). ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กร ต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 191–200. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.15