การสร้างแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • นฤมล อำมะรา มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ณัฐกฤตา งามฤทธิ์ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.20

คำสำคัญ:

แบบทดสอบ, คณิตศาสตร์, กระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

งานวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบ หาคุณภาพและคะแนนจุดตัดของแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนในสังกัดศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ตัดสิน คือครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 6 คน และกลุ่มผู้สอบคือนักเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*Power 3.1 ได้จำนวน 474 คน ทำการสุ่มแบบหลายขั้นตอน สร้างแบบทดสอบ 2 ฉบับ คือ แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบทดสอบอัตนัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการทดลองใช้ครั้งที่ 1 จำนวน 10 คน ครั้งที่ 2 จำนวน 150 คน และนำไปใช้จริง จำนวน 314 คน วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าสถิติพื้นฐาน และสถิติค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ความเที่ยงตรงตามสภาพ ค่าความเชื่อมั่น ค่าความเชื่อมั่นของกรรมการผู้ให้คะแนน ค่าความสัมพันธ์ของคะแนนสอบในแบบทดสอบ 2 ฉบับ และหาคะแนนจุดตัด ผลการวิจัยพบว่า

  1. แบบทดสอบมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป คือ ฉบับที่ 1 จำนวน 36 ข้อ ( =0.24-0.79, =0.47) และฉบับที่ 2 จำนวน 9 ข้อ ( =0.60-0.64, =0.58) นักเรียนใช้เวลาทำแบบทดสอบเฉลี่ยฉบับละ 90 นาที
  2. ข้อสอบฉบับที่ 1 มีความยากตั้งแต่ 0.25-0.79 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.21-0.77 และฉบับที่ 2 มีความยากตั้งแต่ 0.50-0.63 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.32-0.67 ค่าความเที่ยงตรงตามสภาพมีความสัมพันธ์กันสูง (ฉบับที่ 1=0.78, ฉบับที่ 2=0.82) ค่าความเชื่อมั่นที่สูง (ฉบับที่ 1=0.93, ฉบับที่ 2=0.74) ค่าความเชื่อมั่นของกรรมการผู้ให้คะแนน 2 ฉบับ เท่ากับ 0.99 ค่าความสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2 ฉบับ เท่ากับ 0.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
  3. ฉบับที่ 1 คะแนนเต็ม 36 คะแนน มีคะแนนจุดตัด 25.98 คิดเป็นร้อยละ 72.17 มีนักเรียนที่ผ่านจุดตัด 130 คน และฉบับที่ 2 คะแนนเต็ม 90 คะแนน มีคะแนนจุดตัด 61.25 คิดเป็นร้อยละ 68.06 มีนักเรียนที่ผ่านจุดตัด 136 คน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พรรษา นุ่มศรี. (2554). ได้พัฒนาแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดแก้ปัญหาในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ, สงขลา.
พิไลลักษณ์ บัวทอง. (2554) ได้สร้างแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ไพศาล วรคำ. (2552). การวิจัยทางการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
________. (2554). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
________. (2556). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 6). มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร. (2555). ครบเครื่องเรื่องควรรู้สำหรับครูคณิตศาสตร์ : หลักสูตรการสอนและการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2556). รูปแบบข้อสอบ สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ข้อสอบ O-NET ป.6 ม.3 ม.6 ปีการศึกษา 2556. สืบค้นเมื่อ 8 ธันวาคม 2560, จาก www.niets.or.th
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.. (2555ก). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
สรินยา ศรีธัญ (2554). การสร้างแบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. (2558). วิเคราะห์เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยโอเน็ต. ชลบุรี : เอ็มไซน์โฆษณา.
________. (2560). วิเคราะห์เปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยโอเน็ต. ชลบุรี : เอ็มไซน์โฆษณา.
สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การเปรียบเทียบคุณภาพของการกำหนดมาตรฐานระหว่างวิธีแองกอฟที่ได้รับการปรับปรุงกับวิธีบุ๊คมาร์ค. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
Charles, R.; Lester, F.; & O’Daffer, P. (1987). How to Evaluate Progress in Problem Solving. Reston, Virginia : National Council of Teacher of Mathematics.
Cizek, G. J., Bunch, M. B., & Koons, H. (2007). Standard setting: A guide to establishing and evaluating performance standards on tests. Thousand Oaks, CA : Sage.
Kane, M. (1994). Validation the performance standards associated with passing score. Review of Educational Research, 64(3), 425-461.
Lovett, H. T. (1977). The Effect of Violating the Assumption of Equal Item Mean in Estimating the Livingston Coefficient. Educational and Psyghological Measurement.
National Council of Supervisors of Mathematics (NCSM). (1977). Position paper on basic skills. n.p.
National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (1980). An agenda for action: Recommendations for school mathematics of the 1980s. Reston, VA : Author.
Polya, G. (1957). How To Solve It : A New Aspect of Mathematical Method (2nd ed.). New York : Doubleday and Company.
Zieky, M. J., Perie, M., & Livngston, S. (2008). Cutscores: A manual for setting standards of performance on educational and occupational tests. Prinnceton, NJ : Educational Testing Service.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

อำมะรา น., อนุศาสนนันท์ ส., & งามฤทธิ์ ณ. (2019). การสร้างแบบทดสอบวัดกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดศึกษาธิการจังหวัดชลบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 251–263. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.20