การใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42

ผู้แต่ง

  • ธีรพงศ์ ทับอินทร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี จังหวัดลพบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาการใช้วงจรเดมมิ่งในการบริหารงานวิชาการ ของผู้บริหารและครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 2) เปรียบเทียบการใช้วงจรเดมมิ่งในการบริหารงานวิชาการ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา ตำแหน่งในการทำงาน ประสบการณ์ในการทำงาน วิทยฐานะและขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการและครูผู้สอนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42 จำนวน 331 คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียวและทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่ตามวิธีการของเชฟเฟ่ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงาน วิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 42 ภาพรวมและรายด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ 1)ด้านการปฏิบัติตามแผน 2) ด้านการวางแผน 3) ด้านการปรับปรุงและพัฒนา และ 4) ด้าน การตรวจสอบและ 2. ผลการเปรียบเทียบการใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เขต 42 จำแนกตามเพศในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าระดับการศึกษา ตำแหน่งในการทำงาน ประสบการณ์ ในการทำงาน วิทยฐานะและขนาดของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

 

USING THE DEMING CIRCLE (PDCA) OF ACADEMIC ADMINISTRATION IN THE SECONDARY SCHOOL UNDER SECONDARY EDUCATION SER­VICE AREA OFFICE 42

The objectives of this research were to 1) study the using of the Deming circle (PDCA) of Academic Administration and 2) compare the using of the Deming circle (PDCA) classified by gender, level of qualification, work position, experience, academic rankand school size.The sample were 331 educational administrators and teachersin the secondary schools under Secondary Educa­tion Service Area Office 42. The instrument was a questionnaire designed by a researcher with a reliability of 0.99. The data were analyzed in terms of percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and one-way ANOVA. Pair comparison was tested with Scheffe’s method.The results of the research were as follows:1.Using the Deming circle (PDCA) of Academic Administration in the Secondary School under Secondary Education Service Area Office 42 were overall at a high level ranking from the top as organizing the data as follows:doing, planning, actingand checking. And2.The comparison of Using the Deming circle (PDCA) of Academic Administration in the Sec­ondary School under Secondary Education Service Area Office 42 were not different in overall and individually when they were classified by level of qualification, work position, experience, academic rankand school size : however, it did not differ statistically it was found the differences at a significance level .05.

Downloads