การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการสร้างเขื่อนในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • วิไลพร อาจมนตรี วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ธนวัฒน์ พิมลจิดา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การสังเคราะห์งานวิจัย, การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม, โครงการสร้างเขื่อน, Synthesis, Environmental Impact Assessment, Dam

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสถานะองค์ความรู้การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการสร้างเขื่อนใน ประเทศไทย 3 ด้าน ได้แก่ ด้านแนวคิด ทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ด้านวิธีวิทยาการวิจัย และด้านผลการศึกษา ใช้รูปแบบการวิจัย เชิงคุณภาพกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยระดับปริญญาโทและเอก จำนวน 29 เรื่อง ผลการวิจัย พบว่า ด้านแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย มีหลายแนวคิด เช่น แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการปัญหา แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการความ ขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง แนวคิดคุณภาพชีวิต แนวคิดความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น ด้านวิธีวิทยาการวิจัย พบว่า มีการใช้ รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ มากที่สุด (44.82%) รองลงมาเป็นการวิจัยผสมผสาน (31.41%) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (24.14%) ด้านผลการศึกษาทั้ง 5 ด้านได้แก่ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ผลกระทบด้านสังคม ผลกระทบด้านวัฒนธรรม ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม และผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ข้อเสนอแนะในการวิเคราะห์ ผลกระทบสิ่งแวดล้อมควรมีการนำ แนวคิดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) และแนวคิดหลักการมี ส่วนร่วมของประชาชน (Public Participation Principle) มาประยุกต์ใช้ให้มากขึ้น

 

THE SYNTHESIS OF RESEARCH RESULTS ON ENVIRONMENTAL IMPACT ASSESSMENT OF DAM’S CONSTRUCTION PROJECTS IN THAI

This synthesis research aims to study the analytical knowledge status of the environmental impacts caused by dam construction projects in Thailand. The study focused on three the research perspectives include Meta Theory, Meta Methodology and Meta Result. The qualitative research methodology is used. Twenty-nine master and doctoral degree research papers are use as the research sample. The research findings reveal that various research concepts are applied for the scope of studies. These include; problem management, conflict and negotiation management, quality of life and human security. In term of Meta Methodologies, the finding reveals that 44.82% of the quantitative research method is used. The next frequently used methods is the Mixed Method which yield to 31.04% where as the Qualitative Method is 24.14. The meta research results can be categorized into 5 categories these include economic impact, social impact, cultural impact, environmental impact, quality of life impact. These findings consistently report same findings. Recommendation from this study were the studies of Environmental Impact Assessment should apply the concept of Sustainable Development and Public Participation Principle.

Downloads