การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุนันทา เจริญจิตรโสภณ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา
  • กัญภร เอี่ยมพญา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา
  • นิวัตต์ น้อยมณี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษา, การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน, ความผูกพันต่อองค์กร, Administration, School-based, Commitment

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาระดับความผูกพันต่อโรงเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงาน เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร และ 4) ศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ดำเนินการโดยใช้ตารางเครจซี่ และมอร์แกน นำมาเทียบบัญญัติไตรยางศ์ตามสัดส่วนของครูในแต่ละโรงเรียน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างครูจำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ และแบบมาตราส่วนประมาณ ค่า สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของครู สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ แบบที่ครูมีบทบาทเป็นหลัก แบบที่ครูและชุมชนมีบทบาท เป็นหลัก แบบที่ผู้บริหารของโรงเรียนมีบทบาทเป็นหลัก และแบบที่ชุมชนมีบทบาทเป็นหลัก

2. ความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความเต็มใจปฏิบัติงานอย่างสูงเพื่อทำประโยชน์ให้โรงเรียน ด้านความเชื่อถือ ยอมรับเป้าหมาย และคุณค่าของโรงเรียน และด้านความต้องการที่จะรักษาความเป็นสมาชิกของโรงเรียน

3. แบบการบริหารสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานกับความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับมาก (rxy = .659) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. แบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครู สังกัดสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 2 ด้าน เรียงลำดับด้านที่มีอำนาจพยากรณ์จากมากไปน้อย คือ แบบที่ครูมีบทบาทเป็นหลัก และ แบบที่ครูและชุมชนมีบทบาทเป็นหลัก สร้างสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z’y = .620X2 + .271X4

 

THE SCHOOL–BASED MANAGEMENT ON THE EFFECTIVENESS OF TEACHERS’ COMMITMENT TOWARDS SCHOOL UNDER NONGCHOK DISTRICT OFFICE, BANGKOK

The purposes of this research were to study 1) the school-based management of schools under Nongchok District Office, Bangkok, 2) the level of organizational commitment of teachers towards schools under Nongchok District Office, Bangkok, 3) the relationship of the school-based management and the level of organizational commitment of teachers towards schools under Nongchok District Office, Bangkok, and 4) the school-based management that is effecting to the organizational commitment of the teachers towards schools under Nongchok District Office, Bangkok. Krejcie and Morgan table sample size and the rule of three were used to find the proportion of teachers from each school, and the samples of this study were 260 teachers selected by simple random sampling method. A set of questionnaires as check lists and rating scales was used as the tool of the study. The data were statistically analyzed as percentage, mean (x), standard deviation (S.D.) and Pearson Product Moment Correlation.

The research results were as follows:

1. The school-based management under Nongchok District Office, Bangkok as a whole was at a high level, ranking by the mean scores from high to low: professional control, professional and community control, administrative control, and community control, respectively.

2. The commitment of the teachers towards schools under Nongchok District Office, Bangkok as a whole was at a high level, ranking by the mean scores from high to low: the willingness to work for school benefit, reliability, goals and values acceptance, and school membership maintenance, respectively.

3. The school-based management on the effectiveness of teachers’ commitment towards schools under Nongchok District Office, Bangkok was positively (rxy = .659) significance different at the level of .05.

4. The school-based management effected the effectiveness of teachers’ commitment towards schools under Nongchok District Office, Bangkok: professional control, professional and community control. It could be written the equation in standardized score as Z’y = .620X2 + .271X4

Downloads