การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา

TEACHER COMPENTENCY DEVELOPMENT IN SCHOOLS UNDER NAKHON RATCHASIMA PRIMARY EDUCATION SERVICE AREA OFFICE

ผู้แต่ง

  • อริสา นพคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • บรรจบ บุญจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุวิมล ตั้งประเสริฐ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

รูปแบบการพัฒนา, สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21, องค์ประกอบ, ความต้องการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบและความต้องการพัฒนาสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1-7 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ออกแบบการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบและความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 3 การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21

            ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบสมรรถนะครูตามแนวคิดเชิงทฤษฎีพบว่ามี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) การพัฒนาหลักสูตร  1.2) การพัฒนาผู้เรียน 1.3) การวัดและประเมินผลการศึกษา 1.4) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 1.5) การจัดการเรียนรู้ และ 1.6) การพัฒนาตนเองและวิชาชีพความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษารองลงมา คือ การจัดการเรียนรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร  2) รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 มีองค์ประกอบ 6 ส่วน ได้แก่ 2.1) หลักการ 2.2) จุดมุ่งหมาย 2.3) โครงสร้างของหลักสูตร 2.4) เนื้อหาของหลักสูตร 2.5) กระบวนการฝึกอบรม 2.6) การวัดและประเมินผลการฝึกอบรมพบว่า ความถูกต้องของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก เช่นเดียวกัน 3) การประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 พบว่า ความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยภาพรวม อยู่ในระดับ มาก เช่นเดียวกัน

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชวนชม.
ดวงหทัย โฮมไชยะวงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นการโค้ชและการดูแลให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อส่งเสริม
สมรรถนะครูประถมศึกษาของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ธีรศักดิ์ อัครบวร. (2545). ความเป็นครู. ภูเก็ต : สถาบันราชภัฏภูเก็ต.
ประโยชน์ คล้ายลักษณ์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการทำงานเป็นทีมของบุคบลากรทางการศึกษาผู้ปฏิบัติงานใน
สถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหาร
การศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2553). ปฏิรูปการศึกษา แนวคิดและหลักการตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.
กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
มานิตย์ นาคเมือง. (2551). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะประจำสายงานของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญา
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑติ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เมธีศิน สมอุ่มจารย์. (2556). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูช่างอุตสาหกรรมในสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี. (2551). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รุ่ง แก้วแดง. (2544). การปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภา.
วรากรณ์ สามโกเศศ และคณะ. (2553). ข้อเสนอระบบการศึกษาทางเลือกที่เหมาะสมกับสุขภาวะคนไทย. กรุงเทพมหานคร :
ภาพพิมพ์.
วสันต์ ปานทอง. (2556). รูปแบบการพัฒนาครูเพื่อศิษย์ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมาน อัศวภูมิ. (2549). การพัฒนารูปแบบการบริหารการประถมศึกษาระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย .
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). การพัฒนาสมรรถนะครูเครือข่ายวิทยการภาพ. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการ
สภาการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). เรียนรู้บูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.
Bloom, B. S. (1956). Taxonomy of educational objectives book 1: Cognitive domain. London: Longman.
Bower, G. H., and Hilgard, E. R. (1981). Theories of learning. (5th ed.). Englewood Cliffs : Prentice-Hall.
Cronbach, L. J. (1990) . Essentials of psychology testing. (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers Inc.
Eisner, E. W. (1976). Education connoisseurship and criticism. The Journal of aesthetic education, 10(3), 135-150.
Gagne, R. M. (1970). The condition of learning. New York : Holt, Rinchart and Winston.
Good, C. V. (1973). Dictionary of Education. New York : McGraw-hill Book.
Keeves, P. J. (1988). Educational research methodology, and measurement : An international handbook. Oxford:
England.
Kimble, G. A. (1963). Principles of general psychology. (2nd ed.). New York : Ronald Press.
Rogers, E. M., and Shoemaker, F. F. (1971). Communication of innovations : A cross cultural approach. New
York : The Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07