การพัฒนาแนวทางสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

ผู้แต่ง

  • พิชชาภา อ่างสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สุธรรม ธรรมทัศนานนท์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนา, องค์กรแห่งการเรียนรู้, สถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพัฒนาแนวทางสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27 มีวิธีดำเนินการการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชากร ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการโรงเรียนและครูผู้สอน ปฏิบัติการสอนปีการศึกษา 2560 รวม 883 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตาราง Krejcie and Morgan ได้ 264 คน ด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และแบบประเมินเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้และครูผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 9 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม นำเสนอข้อมูลในรูปแบบความเรียงโดยใช้ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index : PNIModified ) ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม สภาพปัจจุบันอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.24, S.D.=0.20) และ สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.51, S.D.=0.41) สำหรับการพัฒนาแนวทางสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.56, S.D.=0.18) และ ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.49, S.D.=0.22) แสดงให้เห็นว่าสามารถนำแนวทางไปใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาได้

Author Biography

พิชชาภา อ่างสุวรรณ, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ชื่อ นางสาวพิชชาภา  อ่างสุวรรณ

เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2532

การศึกษาสูงสุด ปริญญาตรี (กศ.บ.) สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

References

นันทรัตน์ เจริญกุล. (2557). “การจัดการความรู้ KNOWLEDGE MANAGEMENT-KM, Copyright (c) 2014,” วารสารศึกษาศาสตร์, 21(1), 13-25.
บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
_______. (2554). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
พรรณี เทพสูตร. (2556). รูปแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนมัธยมศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 ที่พัฒนาองค์ความรู้ร่วมกับชุมชน. ชลบุรี : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. (2559). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2559. ร้อยเอ็ด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27.
อภิชา ธานีรัตน์. (2555). รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : ครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Marquardt, M. J. (1996). “Building the learning organization: Mastering the 5 elements for corporate learning” New York: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-07