การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์สำหรับกุนเชียงปลาสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิหารขาวสามัคคี ตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี

ผู้แต่ง

  • พนิตสุภา ธรรมประมวล มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • กาสัก เต๊ะขันหมาก มหาวิทยาลราชภัฏเทพสตรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.4

คำสำคัญ:

ศักยภาพเชิงพาณิชย์, กุนเชียงปลาสมุนไพร, วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิหารขาวสามัคคี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์สำหรับกุนเชียงปลาสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิหารขาวสามัคคี ตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี นี้ แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ตามวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ระยะที่ 1 การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์กุนเชียงปลาสมุนไพรในจังหวัดสิงห์บุรี ประชากรคือผู้บริโภคที่ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม 387 ตัวอย่าง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่ได้รับการพัฒนาจนมีคุณภาพสูง (IOC=0.66-1.00, α=0.79) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตภัณฑ์กุนเชียงปลาสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิหารขาวสามัคคี ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จากกลุ่มเป้าหมายไตรภาคีเพื่อการพัฒนา จำนวน 24 คน ใช้การประชุมกลุ่มเฉพาะเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอก การวิเคราะห์โอกาสและความแข็งแกร่งทางธุรกิจ การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด และการใช้แบบจำลองรูปแบบธุรกิจในการพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ ใช้วิธีตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า 1) วัตถุประสงค์ในการเลือกซื้อของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือ เพื่อบริโภคส่วนตัว โดยเหตุผลในการพิจารณาเลือกซื้ออันดับแรกคือ ราคา ปริมาณการเลือกซื้อน้อยกว่า 3 กิโลกรัมต่อครั้ง และสถานที่ที่เลือกซื้อ คือ ที่ตลาดสด/ตลาดนัด และ 2) ผลิตภัณฑ์กุนเชียงปลาสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านวิหารขาวสามัคคีมีความแข็งแกร่งและมีโอกาสทางธุรกิจ จึงนำไปสู่การตัดสินใจ “ขยายการผลิต” โดยมีกลยุทธ์ทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ คือ (1) กลยุทธ์ SO “ปลาแม่ลาได้น้ำ” ด้วยวิธีการพัฒนาให้เป็นสินค้าอาหารสุขภาพและของฝากประจำจังหวัดสิงห์บุรี (2) กลยุทธ์ WO “ปลาแม่ลาแหวกว่าย” ด้วยวิธีการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย ปรับปรุงการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ (3) กลยุทธ์ ST “ปลาแม่ลาลอยคอ” ด้วยวิธีการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ภูมิปัญญา ใส่ใจการผลิต และจำหน่ายราคาประหยัด และ (4) กลยุทธ์ WT “ปลาแม่ลาเกยตื้น” ด้วยวิธีการตัดทอนผลิตภัณฑ์ที่ขายยากและไม่สร้างกำไร และสามารถใช้แบบจำลองรูปแบบธุรกิจในการพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์ได้

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2559). การพัฒนากลยุทธ์การแข่งขันผลิตภัณฑ์ OTOP หมูฝอยกรอบโกเนียร ตำบลหนองกระโดน อำเภอเมืองนครสวรรค์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 67-78.
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2556). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จีรนันท์ คล้าเจริญสมบัติ. (2554). การจัดการกลยุทธ์และกลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างความเป็นผู้นำในตลาดอาหารแช่แข็งกรณีศึกษาบริษัทเอสแอนด์พีซินดิเคท จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพมหานคร.
ชรตรา วุฒิภาพ และศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2557). ทัศนคติและพฤติกรรมการซื้ออาหารพร้อมรับประทานซีพีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. โครงการบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 1(2) (2557). 64-77.
ธิติมา พัดลม และกุลเชษฐ์ มงคล. (2558). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนฟู้ดผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารจัดการธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา, 4(2), 6-21.
พนิตสุภา ธรรมประมวล. (2559). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากนกระทาในจังหวัดอ่างทอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(3), 192-201.
รัตนะ บัวสนธ์. (2558). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิญญู กิ่งหิรัญวัฒนา. (2557). คู่มือสร้างโมเดลธุรกิจ: Business Model Generation. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์วีเลิร์น.
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมขนจังหวัดสิงห์บุรี. (2560). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนสิงห์บุรี (2558). สืบค้นเมื่อพฤษภาคม 2560, จาก http://www.sceb.doae.go.th/Documents/datachw/Sing% 20Buri.pdf
สุนิษา กลิ่นขจร. (2558). พัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรบ้านเขานาในตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2), 2643-2655.
สุภางค์ จันทวนิช. (2553). วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Osterwalder, A., & Pigneur, Y. (2010). Business Model Generation A Handbook for Visionaries, Game Changers and Challengers. Hoboken, New Jersey : John Wiley and Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-01

How to Cite

ธรรมประมวล พ., & เต๊ะขันหมาก ก. (2019). การพัฒนาศักยภาพเชิงพาณิชย์สำหรับกุนเชียงปลาสมุนไพรของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรวิหารขาวสามัคคี ตำบลวิหารขาว อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(1), 39–53. https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.4