การรับรู้จากสื่อเกี่ยวกับการใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชน ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ศุภรัตน์ กรมขุนทด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมาและ เพื่อศึกษาการรับรู้การใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นจากสื่อของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามประเภทของสื่อ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.995 จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในจังหวัด นครราชสีมา จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิง (51.7 %) อายุ 26- 35 ปี (33.3%) การศึกษาระดับปริญญาตรี (36.7%) และอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (29.2 %) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้การใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นจากสื่อทั้ง 6 สื่อ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย เป็นสื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อกิจกรรม และสื่อสมัยใหม่ เมื่อพิจารณาเป็นรายสื่อ และเมื่อจำแนกตามประเภทของสื่อพบว่า 1) สื่อบุคคลมีการรับรู้จากผู้นำชุมชน มากที่สุด รองลงมาคือบุคคลในครอบครัว รองลงมาคือเพื่อนน้อยที่สุดคือหัวคะแนน 2) สื่อสิ่งพิมพ์เป็นการรับรู้จากโปสเตอร์ มากที่สุด รองลงมาคือแผ่นพับ รองลงมาคือหนังสือพิมพ์ น้อยที่สุดคือใบปลิว 3) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการรับรู้จากโทรทัศน์ มากที่สุด รองลงมาคือวิทยุ รองลงมาคือเทปบันทึกเสียง น้อยที่สุดคือหนังสั้น 4) สื่อสมัยใหม่ เป็นการรับรู้จากอินเทอร์เน็ต มากที่สุด รองลงมาคือ SMS และน้อยที่สุดคือ LINE 5) สื่อกิจกรรมเป็นการรับรู้จากการแถลงข่าวมากที่สุด รองลงมาคือ การปราศรัย และน้อยที่สุดคือการชุมนุม 6) สื่อเฉพาะกิจ เป็นการรับรู้จากป้ายโฆษณากลางแจ้งมากที่สุด รองลงมาคือรถ แห่ และน้อยที่สุดคือสติ๊กเกอร์


LOCAL ELECTION PERCEPTION FROM MEDIAS OF PEOPLE IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE

The objective of this study is to investigate Media perception of people for local election in Nakhon Ratchasima province and how voter receive election’s information divided from each type of media. Using questionnaire to collecting data found reliability level at 0.995 from random group of 400 voters using Multi stage sampling method found mostly female 51.7%, Age between 26-35 years old 33.3%, Bachelor degree 36.7% and working in Government and Government Enterprises 29.2% Statistic used in data evaluation were percentage ,mean and standard deviation The results of the study Media perception in Local election of people in Nakhon Ratchasima province providing from 6 types of media overall was moderate, Voter received from individual media the most then from specific media , electronic media , activity media and the last one from modern media as when considering by each type found that 1) Individual Media Voters perceived information from Leader of their community the most and then from their family members , friends and the election canvasser was lowest. 2) Printing Media Voters perceived from Advertised poster the most and then flap and then Newspaper and the handbill was lowest. 3) Electronics Media Voters perceived from Television the most and then radio ,tape recording and short film was lowest 4) Modern Media Voters perceived from Internet the most and then SMS and Line was lowest. 5) Activity Media Voters perceived from Media conference the most and then public speech and Political rally was lowest. 6) Specific media Voters perceived from Outdoor media the most and then advertising truck and sticker as lowest.

Downloads