ศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดขอบเขตของบิดอะฮฺตามทัศนะอุละมาอ์อะฮฺลุสสุนนะฮฺ

Authors

  • นัศรุลลอฮ์ หมัดตะพงศ์
  • อับดุลเลาะ การีนา

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ในการกำหนดขอบเขตของบิดอะฮฺตามทัศนะอุละมาอ์อะฮฺลุสสุนนะฮฺ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์โดยใช้หลักการอุลูมุลหะดีษ และหลักการอัลตัรญีห์ ผลการศึกษาพบว่าหลักเกณฑ์การกำหนดขอบเขตของบิดอะฮฺตามทัศนะอุละมาอ์อะฮฺลุสสุนนะฮฺพบว่ามี 9 ประการ ได้แก่  1) ทุกบิดอะฮฺในทางศาสนาล้วนถือเป็นความหลงผิด  2) บิดอะฮฺ คือสิ่งที่ไม่มีหลักมูลฐานใดๆทางศาสนาให้การรับรอง  3) ทุกๆอิบาดะฮฺที่อ้างอิงมาจากหะดีษเฎาะอีฟญิดดัน หรือหะดีษเมาฎูอ์ย่อมถือเป็นบิดอะฮฺ  4) คำพูดหรือการกระทำใดๆที่มาจากเศาะฮาบะฮฺท่านหนึ่งหากไม่ขัดแย้งกับอัลกุรอานและสุนนะฮฺที่ถูกต้อง และไม่พบว่าขัดแย้งกับสายรายอื่นๆ สิ่งนั้นย่อมอนุญาตให้เห็นต่าง และจะตัดสินเป็นบิดอะฮฺไม่ได้  5) ทุกๆอิบาดะฮฺที่ได้รับการยืนยันทางศาสนาให้ปฏิบัติในลักษณะเปิดกว้าง(อุมูม)หากนำไปปฏิบัติในลักษณะเจาะจง (มุก็อยยัด) โดยไม่มีหลักฐานใดๆทางศาสนาบ่งบอกไว้ สิ่งนั้นย่อมถือเป็นบิดอะฮฺ  6) รูปแบบอิบาดะฮฺใดๆที่ท่านเราะสูล ﷺละเว้น แม้นด้วยเหตุผลพึงน่าจะกระทำ อีกทั้งไม่มีอุปสรรคอันใดขัดขวาง การละเว้นกรณีเช่นนี้ถือว่าการละเว้นสิ่งนั้นถือเป็นสุนนะฮฺ  และการผ่าฝืนกระทำถือเป็นบิดอะฮฺ  7) บิดอะฮฺ หมายถึงทุกๆการอุตริกรรมในเรื่องศาสนา แม้นเป็นการตีความ หรือทัศนะส่วนบุคคล  8) บิดอะฮฺเป็นการเจตนาเพื่อเข้าใกล้ต่ออัลลอฮฺอาจเกิดขึ้นได้ทั้งด้วยการกระทำ หรือการละเว้น และ  9) ทุกๆการอิบาดะฮฺ หรือมุอามะลาต หรืออาดาต (ประพณี) ที่ไม่ปรากฏรูปแบบในศาสนบัญญัติ หากปฏิบัติโดยมีเจตนาเพื่อเป็นการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ สิ่งนั้นย่อมถือเป็นบิดอะฮฺ 

 

คำสำคัญ :  บิดอะฮฺ  อุละมาอ์อะฮฺลุสสุสนะฮฺ

 

Abstract

This paper aims to study the criteria for determining Bid’ah from a perspective of Ulama of Ahlul Sunnah. It is a qualitative research work, which collects data from relevant documents and literatures. and analyzes the data by resorting to the principle of Hadith Science, and Taryih.The finding show that the criteria to determine a boundary of Bid’ah from a perspective of Ulama of Ahlul Sunnah there are 9 elements as follows: 1) every bid’ah is a deviant act; 2) Bid’ah has no valid religious basis; 3) all ibadah that derives from a very weak hadith or hadith mawdua is a bid’ah; 4) a word or an act that comes from Prophet’s companion is allowed to be debatable but it is not concluded to be a bid’ah if it does not contradict with Quran and Sunnah; 5) all ibadah that is agreed religiously to be practiced in a general sense (Umum) is considered to be a bid’ah if it is practiced in a specific purpose (Muqayyad) without any valid sources; 6) any form of ibadah that Prothet (ﷺ) omits, even though there is a good reason to practice or there is no obstacle (not to practice), is considered to be sunnah and its violation is considered as bid’ah; 7) bid’ah means any innovation in religion including interpretation and individual perspective; 8) bid’ah is an intention to get closed to Allah, which can happen in form of an act of doing and omission; and 9) all ibadah, muamalat, and adat (tradition) that has no form in religious legislation is considered as a bid’ah if it is practiced with an intention to worship Allah.

 

Key Word : Bid’ah , Ulama of Ahlul Sunnah

Downloads

Published

2018-02-04