สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้

Authors

  • ยุทธนา เกื้อกูล
  • นิเลาะ แวอุเซ็ง

Abstract

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ รวมทั้งสิ้น 370 คน

         ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การนำหลักสูตรไปใช้และบริหารการใช้หลักสูตรตามความเหมาะสม ปัญหาที่พบในระดับมาก คือ ผู้บริหารและครูไม่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาหลักสูตร 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามสาระและหน่วยการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ปัญหาที่พบในระดับมากที่สุด คือ ครูขาดเทคนิคการสอนที่หลากหลาย        3) การวัดผล ประเมินผล และการเทียบโอนผลการเรียน พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การจัดทำรายงานการวัดผลการเรียนและการออกหลักฐานแสดงผลการจบการศึกษา ปัญหาที่พบในระดับมาก คือ โรงเรียนไม่มีคลังเก็บข้อสอบ  4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การส่งเสริมให้ครูผลิต พัฒนาสื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอน ปัญหาที่พบในระดับมาก คือ สื่อการสอนไม่มีความหลากหลาย  โดยเฉพาะสื่อการสอนด้านอิสลามศึกษา 5) การนิเทศการศึกษา พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การจัดระบบการนิเทศงานวิชาการและการเรียนการสอนภายในสถานศึกษา ปัญหาที่พบในระดับมาก คือ ขาดการนิเทศอย่างต่อเนื่อง

 

คำสำคัญ: สภาพ, ปัญหา, การบริหารงานวิชาการ

 

Abstract

       This research aimed to examine the present states and problems of academic affairs administration of Islamic private schools in southern border provinces. The research is based on director, head of academic affairs and deputy of academic affairs, a total of 370 of whom returned questionnaires.

       The result of the study indicates as follows: 1) Development of school-based curriculum, on the whole, is in high level, which the curriculum implementation and management of the curriculum aspect is the high level. The main problem is most of administrator and teachers are not expertise in curriculum development.               2) Development of learning process, on the whole, is in high level, which the encourage teachers to preparing lesson plans based on learning content and unit, that by focus on the learners aspect is the high level. The main problem is a lack variety of teaching techniques. 3) Measurements, evaluation and transfer of learning, on the whole, are in high level, which reporting measurement results and Issuing the evidence of graduation results aspect is the high level. The main problem is the school has no storage of test. 4) Development of technology, innovation and media, on the whole, is in the moderate level, which promoting teachers to produce and development of media and innovation in teaching and learning aspect is the high level. The main problem is the media of Islamic teaching is not variety.   5) Supervision of instruction, on the whole, is in the moderate level, which is organizing academic supervision and teaching in the school aspect is the high level. The main problem is supervision of instruction could not be regularly performance. 

 

Keywords: States, Problems, Academic Affair Administration

Downloads

Published

2018-02-04