ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วยการบริหารร่างกายแบบมณีเวชต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ จากการทำงานของกลุ่มเกษตรกร อำเภอปง จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • กันจณา สุทาคำ
  • มุกดา หนุ่ยศรี
  • วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล

คำสำคัญ:

เกษตรกร, อาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน, การบริหารร่างกายแบบมณีเวช

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วยการบริหารร่างกายแบบมณีเวชต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานของกลุ่มเกษตรกร อำเภอปง จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบสะดวกเป็นเกษตรกรจำนวน 60 คน ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานและได้รับการรักษาโดยใช้ยาแก้ปวดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เป็นกลุ่มทดลอง 30 คน จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลออย ได้รับโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองต่อเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานด้วยวิธีการบริหารร่างกายแบบมณีเวชนาน 8 สัปดาห์ และเป็นกลุ่มเปรียบเทียบ 30 คน จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านฝายแก้วได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์ในการดูแลตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน แบบประเมินระดับอาการปวดกล้ามเนื้อ และแบบบันทึกการรับประทานยาแก้ปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การทดสอบที และแมนวิทนีย์ยู

ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มทดลองมีการรับรู้ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงานสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบและมีอาการปวดกล้ามเนื้อและปริมาณการใช้ยาแก้ปวดหลังน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการวิจัยนี้ให้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองด้วยการบริหารร่างกายแบบมณีเวชมีประสิทธิภาพ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้กับเกษตรกรในพื้นที่อื่นๆ เพื่อพัฒนาสมรรถนะในการดูแลตนเองเพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน และไม่ต้องใช้ยาแก้ปวดในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อจากการทำงาน

References

References

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavior change. Psychological
Review, 84, 191 – 215.

Bureau of Occupational and Environmental Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, Thailand. (2017). Report situation of diseases and gender of health and environment 2017. Retrieved from http://envocc.ddc.moph.go.th/contents?g=11 [in Thai]

Chumklank, T. (2011). The effect of exercise promotion program by the application of self-efficacy and social support for pain decreasing among elderly with osteoarthritis knees in Wangnamkheaw district, Nakornratchasima province. Master of Public Health thesis, Health Education and Health Promotion, Khon Kaen University. [in Thai]

Detchakan, S. (2013). The effects of a back rehabilitation program on self-efficacy for physical active, pain, and flexibility of muscles among persons with low back pain. Thammasat Medical Journal, 13(4), 513-523. [in Thai]

Kalampakorn, S. (2012). An application of concepts and theories to health promotion and disease prevention in community, in Powwattana, A., et al. (Editors), Health
promotion and disease prevention in community: An application of concepts and
theories to practice (1st ed., page 29-68). Khonkaen: Klungnana Vitthaya. [in Thai]

Kumar, A., Gupta, M., & Katyal, T. (2013). Effect of trunk muscles stabilization exercises and
general exercises on pain in recurrent non-specific low back ache. International
Research Journal of Medical Sciences, 1(6), 23-26.

Manit, N. (2011). Effect of stretching exercise on low back pain and functional ability in home-based garment workers. Nursing Journal, 38(4), 93-103. [in Thai]

Ningsanon, N. (2011). Simply way to make life easier by maneeveda. Srinakharinwirot University (Journal of Science and Technology), 3(5), 1-13. [in Thai]

Phayao's Governor Office, Information and communication group. (2016). Briefing Phayao Province. Retrived from www.phayao.go.th/au/all_phayao_2559.pdf . [in Thai]

Pong District Municipality Office. (2017). Health information at Pong municipality. Retrieved from https://www.ponglocal.go.th/pong/index.php/2017 [in Thai]

Pongoen, P. (2012). Development of pain assessment practice guideline for cancer patients in Udonthani regional cancer center. Mater thesis of nursing science in adult
nursing, Khon Kaen University. [in Thai]

Simsiriwat, W. (2017). Effects of self-efficacy promotion on knowledge, perceived self-
efficacy and promoting thalassemia control behavior among Bangkok health volunteers. The Journal of Faculty of Nursing, Burapha University, 25(2), 94-104.
[in Thai]

Sithiwatcharapong, W. (2013). Effectiveness of Maneevej exercise for reducing work related musculoskeletal syndrome in office workers. Master of Science thesis, Anti-Aging and Regenerative Medicine, Mea Fah Luang University. [in Thai]

Uthairat, P. (2008). The effect of symptom management with rebalancing body structure program on low back pain in persons with chronic low back pain. Master of Nursing Science Thesis, Chulalongkorn University. [in Thai]

Watcharasin, K. (2008). Anatomy of life and balance of Maneeveda. The Journal of Maneeveda, 1, 85-92. [in Thai]

Yanakittkoor, P. (2012). The study of effects of self-massage and hermit exercise towards the use of analgesics: A case study of Koksi village ban fang district Khon Kaen province. Master of Pharmacy thesis, Khon Kaen University. [in Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-08-2019