ผลของการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานต่อความกลัวการพ่นยาฝอยละอองในเด็กวัยก่อนเรียน

ผู้แต่ง

  • กิตติมา ทรงวัฒนา
  • ยุนี พงศ์จตุรวิทย์
  • นุจรี ไชยมงคล

คำสำคัญ:

หุ่นนิ้วมือหรรษา, การเล่านิทาน, ความกลัว, การพ่นยาแบบฝอยละออง

บทคัดย่อ

การพ่นยาฝอยละอองเป็นหัตถการที่พบได้บ่อยในเด็กวัยก่อนเรียน การช่วยลดความกลัวของเด็ก

จึงเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลภายหลังการทดลองครั้งเดียว เพื่อศึกษาผลของการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานต่อความกลัวการพ่นยาฝอยละอองในเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยก่อนเรียนที่ติดเชื้อระบบทางเดินหายใจและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี จำนวน 30 ราย ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเพื่อเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 ราย เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561

กลุ่มทดลองได้รับการใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทาน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบสังเกตพฤติกรรมความกลัวของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละออง ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการทดสอบค่าที                                                                          ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมความกลัวของเด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยา

แบบฝอยละออง ภายหลังสิ้นสุดการทดลองในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(p < .001) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การใช้หุ่นนิ้วมือหรรษาประกอบการเล่านิทานใน

เด็กป่วยวัยก่อนเรียนที่ได้รับการพ่นยาแบบฝอยละอองนี้มีประสิทธิภาพโดยช่วยลดความกลัวของเด็กจาก

การได้รับการพ่นยาฝอยละออง พยาบาลสามารถนำไปใช้เพื่อช่วยลดความกลัวของเด็ก ทำให้สามารถพ่นยา

แบบฝอยละอองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

Adams, J., Gill, S., & McDonald, M. (1991). Reducing fear in hospital. Nursing Times, 87(2), 62-64.

Boonnarakorn, S. (2011). Enhancing holistic health throughout the ages. (3rd ed.).
Songkhla: Tem Printing. [In Thai]

Chimruk, J. (2015). The comparison of preschool children of creative thinking and the communicative ability between hand puppet and role play approach. RMUTI Journal Humanities and Social Sciences, 2(2), 13-23. [In Thai]

James, S. R., Nelson, K.A., & Ashwill, J. W. (2013). Nursing Care of Children, (4th ed.). China: Jeffrey Patterson.

Kaewkungwal, S. (2010). Developmental psychology of all ages, vol.1, Middle childhood, (9th ed.). Bangkok: Three Lada Limited Partnership. [In Thai]

Kasemsook, C. (2009). The effect of concrete objective information program in fear of aero soltherapy of pre-schoolers with acute respiratory infections. Master Thesis of Nursing Science, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University. [In Thai]

Monroe, R. A. (2015). Health promotion of the preschool and family. In Hockenberry, M. J. & Wilson, D. (Eds.), Wong,s nursing care of infants and children (10th ed.) (pp. 537-538). St. Louis, Missouri: Elsevier Mosby.

Morton, N. S. (2007). Management of postoperative pain in children. Archives of Disease in Childhood-Education and Practice, 92, 14-19.

Oorfuvong, M. (2009). Postoperative analgesia in children. In Nimmaanrat, S., Petpichetchian, W., & Prechawai, C. (Eds.), Pain & Pain management 2 (pp. 104-105). Songkhla: Chanmuang Press. [In Thai]

Padungsin, P. (2015). Comparison of distraction by animation and digital game on preschool children,s fear of aerosol therapy in Emergency Room. Master Thesis of Nursing Science, Faculty of Nursing, Chulalongkorn University. [In Thai]

Piaget, J. (1973). The Child and Reality. New York: Crossman Pulishers. Quick.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2006). Nusing Research. Principles and Methods, (6th ed.). Philadelphia: Lippincott.

Potts, N. L., & Mandleco, B. L. (2002). Pediatric Nursing: Caring for Children and Their Families. New York: Delmar.

Punaglom, N., & Ruangworaboon, S. (2014). The effect of fun nebulizer innovation with parents participation on fear among preschool patients receiving aerosol therapy. Journal of Nursing Science and Health, 37(2), 25-34. [In Thai]

Smith, C. A. (2007). Fear and courage. National Network for child Care. Retrieved from March 2, 2007, http://www.nncc.org/Guidance/dc16_fear.courage.html


Srithep, N. (2006). Effect of videotape information program on fear of receiving aerosol therapy among preschool children. Master Thesis of Nursing Science, Faculty of Pediatric Nursing, Chiang Mai University. [In Thai]

Susiva, C. (2011). Pneumonia. In Aanpreung, P., Soongsawang, J., Wisuthsarewong, W.,& Likasitwattankul, S. (Eds.), Acute Care Pediatrics (pp. 439-442). Bangkok: A-Plus Print. [In Thai]

Thainirunprasert, T. (2017). The effect of a cartoon book on fear among preschool children receiving small volume nebulizer. Journal of Nursing Science, 35(3), 14-24. [In Thai]

Theeranate, C. (2013). Common behavioral problem in preschool age. In Hansakunachai, T., Rungpriwal, R., Sutchritpongsa, S., & Chonchaiya, W. (Eds.), Developmental and Behavioral Books, vol.3, child health care (pp. 227-228). Bangkok: Beyond Enterprise. [In Thai]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2019