ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง

ผู้แต่ง

  • กนกวรรณ โคตรสังข์
  • ศิริวรรณ แสงอินทร์
  • อุษา เชื้อหอม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม, ระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม, ระยะเวลาการมา, ของน้ำนมเต็มเต้า, การรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, Lactational program, milk secretion time, onset of lactation, breastfeeding self-efficacy

บทคัดย่อ

การวิจัยที่เปรียบเทียบได้กับการวิจัยแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง ที่พักรักษาตัวที่หอผู้ป่วยสูตินรีเวชกรรม โรงพยาบาลสิรินธร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 60 ราย ทำการสุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองหรือกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มสัปดาห์แรกเพียงครั้งเดียว แล้วเก็บข้อมูลสัปดาห์ละ 1 กลุ่มสลับกันไประหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจนได้กลุ่มตัวอย่างครบ 30 รายในแต่ละกลุ่ม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมร่วมกับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเพียงอย่างเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนม แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางสูติศาสตร์ แบบบันทึกการเริ่มไหลของน้ำนม แบบบันทึกระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และแบบวัดการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทีแบบอิสระ

            ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้าเร็วกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t46.87 = - 4.32, p < .01 และ t51.22 = - 6.08, p < .01 ตามลำดับ) และมีการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t58 = 2.62, p < .01) การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมสามารถทำให้ระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนมและการมาของน้ำนมเต็มเต้าเร็วขึ้น และมีการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดีขึ้น ดังนั้นพยาบาลควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไป

 

             This comparative experimental research aimed to examine the effects of lactational program on milk secretion time, onset of lactation and breastfeeding self-efficacy in mothers after cesarean section. Sample included 60 mothers after cesarean section who admitted at obstetric and gynecological ward of Sirindhorn hospital. Convenience sampling with inclusion criteria was used to recruit sample. Sample was randomly assigned to experimental or control group in first week only. Then researcher was collected data each week one group between experimental or control group until 30 mothers in each group. The experimental group received a lactational program plus routine care while the control group received a routine care only. Research instruments included the demographic and obstetric record form, the milk secretion time record form, the onset of lactation record form and the Breastfeeding Self-Efficacy scale. Data were analyzed by using descriptive statistics and independent t-test.

            The results showed that the experimental group had significantly a period of milk secretion time and onset of lactation time faster than the control group ((t46.87= - 4.32, p < .01 and t51.22= - 6.08, p < .01, respectively). As well as, breastfeeding self-efficacy in the experimental group were significantly higher than the control group (t58= 2.62, p < .01). This study confirmed that the lactational program could effectively applied to mothers after cesarean section for promote milk secretion time, onset of lactation and breastfeeding self-efficacy. Thus, nurses should use this program to be a guideline for promote successful breastfeeding in mothers after cesarean section.

Downloads