ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • กัลยา บัวบาน
  • วรรณี เดียวอิศเรศ
  • ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมป้องกัน, การขาดสารไอโอดีน, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์  กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดที่มาฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์ที่ทำการศึกษา จำนวน 90 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย  รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน

          ผลการวิจัยพบ พฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนที่หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติเป็นประจำมากที่สุด คือ การรับประทานวิตามินเสริมไอโอดีนที่ได้รับจากคลินิกฝากครรภ์วันละ 1 เม็ด (ร้อยละ 71.1)  และเมื่อวิเคราะห์ด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐานพบว่า การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน, การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน, จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และรายได้ของครอบครัวหญิงตั้งครรภ์ ร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ได้ร้อยละ 42.2 (R2=.422, p<.01) โดยการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีนมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการขาดสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์มากที่สุด (β = .614, p<.01) ผลการวิจัยเสนอแนะว่า ควรมีการจัดกิจกรรมให้ข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์รับรู้ประโยชน์ของการป้องกันการขาดสารไอโอดีน

References

Bunrak, N. (2009). A Study of the expectant mother’s preventive measures for iodine
deficiency and the level of infants, thyroid hormone in Phang-nga
province. Master of Education of College. Phuket Rajabhat University. {In Thai}
Buppasiri, P. (2013). Iodine with pregnancy. Srinagarind Med J, 28 (suppl), 92-96. {In Thai}
Chaiopanont, S. (2017). Iodine disorder situation in pregnant women in Thailand
during the year 2011-2015. Journal of Preventive Medicine Association of
Thailand, 7(2), 200-211. {In Thai}
Laemsak, P. (2015). Relationships between health belief model and iodine
consumption behavior of pregnant women attending antenatal unit at Khao
Panom hospital, Khao Panom district, Krabi province. Journal of Southern Technology, 8(2), 39-45. {In Thai}
Martsuri, P. (2012). Iodine deficiency prevention in pregnant women, Namsom district,
Udonthani province,2011. Journal of the office of DPC 6 Khon Kaen, 19(2),
27-39. {In Thai}
National Center for Child Health Screening Department of Medical Sciences. (2010).
Innovative solutions to disease and iodine deficiency in sustainable areas through
the food chain. Retrieved July 2, 2018 from http://www.neoscreen.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=103&Itemid=177 {In Thai}
Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parson, M.A. (2006). Health promotion in nursing practice.
(5th ed). New Jersey: Pearson Education, Inc.
Pratoomrat, B. (2011). Factors affecting iodine deficiency disorder preventive
behaviors of pregnant women iIn Namsom district, Udonthani province.
Master of Public Health Independent Study in Public Health Administration,
Graduate School, Khon Kaen University. {In Thai}
Phunharach, S. (2011). Iodine supplements consumption and perceptions of regnancy
on congenital hypothyroidism Muang district Nong Bua Lumphu province.
Udonthani Hospital Medical Journal, 19(1), 10-18. {In Thai}
Singsena, S., & Muktabhant, B. (2015). Factors affecting urinary iodine concentration of
pregnant women attending the antenatal care clinic. Mahasarakham Hospital Journal, 12 (3), 161-172. {In Thai}
Simpong, D.L., Asmah, R.H., Akakpo, P.K., Adu, P., Asante, D., Naporo, S., …Gyasi, R.K. (2018).
HER-2 Protein Overexpression in Patients with Gastric and Oesophageal Adenocarcinoma at a Tertiary Care Facility in Ghana. The Scientific World Journal, 2018, 1-6. doi: 10.1155/2018/1564150
Somphan, P., Kanato,M., & Rungsiprakarn, P. (2013). Preventive behavior of iodine deficiency
In pregnancy and neonatal TSH concentration in Na Wang and NaKlang dristrict, Nong Bua Lam Phu province, Thailand. Community Health Development Quarterly Khon kaen University, 1(3), 117-129. {In Thai}
World Health Organization. (2007). Assessment of Iodine Deficiency Disorders and Monitoring
Their Elimination. (2nd ed.) Geneva: Switzerland.
Yarrington, C. & Pearce, E.N. (2011). Iodine and Pregnancy. Journal of Thyroid Research,
2011(5), 1-8. doi:10.4061/2011/934104.
Zimmermann, M.B. (2012). The effects of iodine deficiency in pregnancy and infancy.
Paediatr Perinat Epidemiol, 26 (Suppl 1), 108-17. doi: 10.1111/j.1365-3016.2012.01275.x.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2019