การพัฒนาทักษะการสื่อสารของคู่สมรสที่พยายามฆ่าตัวตายด้วยการให้คำปรึกษาตามแนวทฤษฎีซะเทียร์

ผู้แต่ง

  • มนัญญา ช้อยเชิดสุข
  • เพ็ญนภา กุลนภาดล
  • ระพินทร์ ฉายวิมล

คำสำคัญ:

ทักษะการสื่อสาร, คู่สมรสที่พยายามฆ่าตัวตาย, การให้คำปรึกษาตามแนวทฤษฎีซะเทียร์, Communication skill, Couple who attempt suicide, Satir theory counseling

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาตามแนวทฤษฎีซะเทียร์ที่มีต่อการพัฒนาทักษะการสื่อสารของคู่สมรสที่พยายามฆ่าตัวตาย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้เป็นคู่สมรสที่พยายามฆ่าตัวตาย และมารับบริการในโรงพยาบาลมาบตาพุด จำนวน 20 คู่สมรส ที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยการสื่อสารที่ไม่สอดคล้องในแต่ละคู่สมรส สูงกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 75 ดำเนินการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 ครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดทักษะการสื่อสารของคู่สมรส และโปรแกรมการให้คำปรึกษาตามแนวทฤษฎีซะเทียร์ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองการให้คำปรึกษา จำนวน 10 ครั้ง ครั้งละ 60 นาที โดยทำการประเมินการสื่อสารใน 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีนิวแมนคูลส์

     ผลการศึกษาพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลอง กับระยะเวลาของการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คู่สมรสในกลุ่มทดลองมีคะแนนการสื่อสารที่ไม่สอดคล้องแตกต่างจากกลุ่มควบคุมในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคู่สมรสในกลุ่มทดลองมีคะแนนการสื่อสารที่ไม่สอดคล้องในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลแตกต่างจากระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

      ผลของการวิจัยในครั้งนี้ โปรแกรมการให้คำปรึกษาตามแนวทฤษฎีซะเทียร์ สามารถทำให้คู่สมรสพัฒนาการสื่อสารระหว่างกันให้มีประสิทธิภาพและมีทักษะในการใช้ลักษณะการสื่อสารต่อคู่สมรสของตนได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม ดังนั้นคู่สมรส สมาชิกในครอบครัวทุกคน และบุคคลทั่วไปจึงสามารถนำไปเป็นแนวทางหรือนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

     This research aimed to study the effects of Satir theory counseling program for development of suicidal attempt couple’s communication skills of  couples who attempt suicide. The  sample used in this study the couple who attempted suicide and been hospitalized a total of 20 pairs of Maptaput not congruent communication to each couple is higher than the 75 percentile. The simple random sampling method was experimental and control groups of 10 pairs. The research tools used to measure the couple’s communication  skill questionnaire and the Satir theory counseling program. Researchers conducted a consultation of 10 times per 60 minutes assessment of communication in the third period before the trial after trial and follow-up. Data were analyzed by repeated measures analysis of variance and test of the difference of a couple by the Newman-Kuel’s method.

     The results showed that there were interaction between method and duration fo the trial, a statistically significant at .05. Couple in the experimental group has an average rating of not congruent communication that is different from the control group has an average rating of not congruent communication that is different from the control group in the period after the trial and follow-up results were statistically significant at .05 and couple in the experimental group has an average rating of not congruent communication in the period after the trial and follow-up of pre-trial difference were statistically significant at .05.

     The results of this research suggest that satir theory counseling program can improve communication between couple and have the skill to use the communication is congruent. Thus, the couple’s family member can take in Satir theory is applied to development guidelines or communicate more effectively.

Downloads