ผลของการใช้การสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้าง คำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Authors

  • สุทธิชาติ เปรมกมล
  • สกลรัชต์ แก้วดี, ดร.

Keywords:

การสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐาน, ความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์, การให้เหตุผล, MODEL-BASED INQUIRY, ABILITY IN MAKING SCIENTIFIC EXPLANATION, REASONING ABILITY

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มุ่งศึกษาผลของการใช้การสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 72 คน คือ กลุ่มทดลองเรียนด้วยการสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐาน จำนวน 36 คน และกลุ่มเปรียบเทียบเรียนด้วยวิธีจัดการเรียนการสอนแบบทั่วไป จำนวน 36 คน      มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัด 2 ชุด ประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผล และแบบวัดความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ ANCOVA

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักเรียนที่เรียนด้วยการสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างคำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์เท่ากับ 18.55 จากคะแนนเต็ม 24 คะแนน ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ระดับดีมาก และสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยการสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

        The purposes of this quasi-experimental research was to investigate the effects of a model-based inquiry on the ability in offering scientific explanation and the reasoning ability of lower secondary school students. The sample of 72 ninth-grade students from an extra-large school in Bangkok was composed of two groups: an experimental group and a control group. Thirty-six students in the experimental group learned through model-based inquiry and 36 students in the control group learned through the conventional method. The data was collected by a two set test on the ability in offering a scientific explanation and on reasoning ability. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and ANCOVA test.

         The research findings were summarized as follows: (1) The mean score of the experimental group on the ability in offering scientific explanation was 18.55 which was rated at a very high level and higher than that of the control group at a 0.05 level of significance; (2) The mean score of the experimental group on the reasoning ability post-test was higher than the pre-test and higher than that of the control group at a 0.05 level of significance.

Author Biographies

สุทธิชาติ เปรมกมล

 นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สกลรัชต์ แก้วดี, ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2018-01-29

How to Cite

เปรมกมล ส., & แก้วดี ส. (2018). ผลของการใช้การสืบสอบเน้นแบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการสร้าง คำอธิบายเชิงวิทยาศาสตร์และการให้เหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. An Online Journal of Education, 12(1), 259–274. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/110476