สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Authors

  • ไวยวุฒิ ธนบัตร
  • สุกัญญา แช่มช้อย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

การบริหารวิชาการ, สิทธิเด็ก, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันแล้วสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ประชากร คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวนทั้งสิ้น 67 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 58 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเจตคติของบุคลากรในสถานศึกษา ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านหลักสูตร สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านเจตคติของบุคลากรในสถานศึกษา ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักสูตร

Author Biographies

ไวยวุฒิ ธนบัตร

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุกัญญา แช่มช้อย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-01-04

How to Cite

ธนบัตร ไ., & แช่มช้อย ส. (2019). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. An Online Journal of Education, 13(1), 444–454. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/164872