คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัล

Authors

  • สุพัชญา เจรีรัตน์
  • ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

Keywords:

การรู้สื่อดิจิทัล, คุณสมบัติทางจิตมิติ, แบบวัดสถานการณ์

Abstract

การวิจัยเรื่องคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลนี้มีจุดประสงค์เพื่อ ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีตัวอย่างวิจัยคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 และเขต 2 ปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 393 คน โดยมีแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ความตรงตามเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน ความยาก และอำนาจจำแนก ของแบบวัด สถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัล

ผลการวิจัยสรุปได้ว่าแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นนั้นมีคุณภาพด้านคุณสมบัติทางจิตมิติ ด้านความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าโมเดลการรู้สื่อดิจิทัลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (x2 = 24.75, p = 0.363, df = 23, x2 /df = 1.08 , CFI = 1.00, SRMR = .03, RMSEA = 0.01) ด้านความตรงตามเนื้อหา พบว่าแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลทุกข้อคำถามมีความสอดคล้องกับเนื้อหาที่วัด โดยมีระดับความตรงตามเนื้อหาอยู่ในช่วง 0.80 – 1.00 ด้านความเที่ยง พบว่าแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลมีความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในทั้งฉบับเท่ากับ 0.743 ด้านความยาก พบว่าข้อคำถามส่วนใหญ่เป็นข้อคำถามที่มีความยากในระดับง่าย โดยมีค่าความยากเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 0.79 และด้านค่าอำนาจจำแนก พบว่าข้อคำถามส่วนใหญ่เป็นข้อคำถามที่มีค่าอำนาจจำแนกเป็นไปตามเกณฑ์ โดยมีค่าอำนาจจำแนกเฉลี่ยทั้งฉบับเท่ากับ 0.26

Author Biographies

สุพัชญา เจรีรัตน์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฎฐภรณ์ หลาวทอง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2019-04-01

How to Cite

เจรีรัตน์ ส., & หลาวทอง ณ. (2019). คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัล. An Online Journal of Education, 13(2), 473–487. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/181405