แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดหลักสูตรแบบสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง จังหวัดกาญจนบุรี

Authors

  • จันทนา สุขกุล
  • พงษ์ลิขิต เพชรผล

Keywords:

ADMINISTRATION, ADMINISTRATION DEVELOPMENT

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดหลักสูตรแบบสะเต็มศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดหลักสูตรแบบสะเต็มศึกษาของโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยประกอบด้วยผู้บริหาร 1 คน  ครูผู้สอน 14 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมของแนวทาง  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพในการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดหลักสูตรแบบสะเต็มศึกษาของโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง จังหวัดกาญจนบุรี   ในภาพรวมอยู่ในระดับมีการปฏิบัติ (M= 3.99, SD = 0.73) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบริหารและพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (M = 3.80, SD = 0.73)  2) แนวทางใน
การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนตามแนวคิดหลักสูตรแบบสะเต็มศึกษาได้แก่ จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรแบบสะเต็มศึกษาและร่วมกันวิเคราะห์หลักสูตร ปรับเนื้อหาและกิจกรรมให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนและชุมชน, ครูผู้สอนควรบูรณาการสะเต็มศึกษาเข้าไปในหลักสูตร รวมถึงปรับเนื้อหาและกิจกรรมให้เข้ากับบริบทของโรงเรียนและชุมชนและทดลองนำหลักสูตรไปลองใช้ก่อนใช้งานจริง ทำประชาพิจารณ์หลักสูตรให้ผู้ปกครองและชุมชนตรวจสอบและแสดงความคิดเห็น, ผู้บริหารสถานศึกษาจัดให้มีการสรุปผลการจัดการเรียนรู้จากหลักสูตรที่ได้ปรับปรุง พัฒนา โดยให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมและให้มีการประเมินผลหลักสูตร เป็นระยะ ๆ และนำผลของการประเมินมาปรับปรุงหรือพัฒนาหลักสูตร

References

เกตุมณี เหมรา, ชลาธิป สมาหิโต. (2559). การจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องของดีเมืองร้อยเอ็ดเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย, ภาควิชาการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ : 31 ฉบับที่ : 3.

จุฬารัตน์ ธรรมประทีป ชนิพรรณ จาติเสถียร. (2560). การพัฒนาวิชาชีพครูแบบร่วมมือ เรื่อง STEM สำหรับครูปฐมวัย, วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. ปีที่ : 10 ฉบับที่ : 2.
นุชนภา ราชนิยม . (2558). การศึกษาสภาพ ปัญหาและความพร้อมของการจัดการเรียนการสอนรูปแบบสะเต็มศึกษาในระดับประถมศึกษา, กรุงเทพมหานครจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์.

บุญทิพย์ สุริยวงศ์. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับมาตรฐานระบบ คุณภาพ ISO 9002 ของโรงเรียนมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา. วารสารวิชาการ, 4, 68.
เบญจกาจน์ ใส่ละม้าย. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์สำหรับ เด็กปฐมวัยโดยผ่านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาเรื่อง อาชีพใน ท้องถิ่น จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 26(2).

ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2558). การจัดการห้องเรียนและแหล่งเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : มีนเซอร์วิส ซัพพลาย.
ปิยพร ค้าสุวรรณ์, ชลาธิป สมาหิโต. (2559). ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่มีต่อความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหา, วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ ปีที่ 30 ฉบับที่ 3.
ภัทรา นิคมานนท. (2540). การประเมินผลการเรียน. กรุงเทพ : ทิพย์วิสุทธิ์การพิมพ์.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2550). การบริหารงานวิชาการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วศิณีส์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. (2559). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ STEM Education (สะเต็มศึกษา), กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
ละมัย รอนยุทธ์. (2547). การปฏิบัติงานด้านการวางแผนของโรงเรียนสงเคราะห์เชียงใหม่ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ ศษ.ม. บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2558). Stem to Steam Plus Stream and Stemm ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีที่: 13 ฉบับที่: 1.

สุบิน จันทนันท์. (2543). การศึกษาปัญหาบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดสุรินทร์, วิทยานิพนธฺครุศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาสถานศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานสถานภาพและความพร้อมในการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาทั่ว ประเทศ. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา.

Akritidou, Paraskeva and Alexiou.(2014). The implication of publicness for strategic management theory. In G. Johnson and K. Scholes, (Eds.), Exploring Public Sector Strategy (pp. 1-16). UK: Pearson Education.

Beane, James A, (1986). Toepler, Jr. Conrad F. and Alessi, Jr. Samuel J. Curriculum Planning and Development. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Certo, Samuel C. & Peter, Paul J. (1991). Strategic management concepts and applications. Singapore: McGraw-Hill.

Haden, Jant, Hoffman, Marcus, Geddes and Gaskins. (2014). A Historical Review of Kolb’s Formulation of Experiential Learning Theory. Dissertation Abstracts International, 52(5).

Israsena Na Ayuthaya, Dejakaisaya and Santanakhul. (2015). Innovative technology for sustainable development of human resource using non-formal and informal education. Procedia Technology 12(2014) 598-603.

Downloads

Published

2019-11-04

How to Cite

สุขกุล จ., & เพชรผล พ. (2019). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดหลักสูตรแบบสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนบ้านหนองหญ้าปล้อง จังหวัดกาญจนบุรี. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402027 (10 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/190990