การศึกษาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับดีมาก สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

Authors

  • กฤตนัย เจริญสุข คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณืมหาวิทยาลัย
  • จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Keywords:

OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOL, IN-SCHOOL SUPERVISION

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาส ที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ในระดับดีมาก สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ประชากร คือ โรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 6 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ หัวหน้ากลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและหัวหน้างาน จำนวน 90 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการตอบแบบสอบถามจากผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาสภาพความต้องการการนิเทศภายในโรงเรียน พบว่า โรงเรียนรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินผลการใช้หลักสูตรสถานศึกษา แล้ววิเคราะห์ให้เห็นสภาพปัจจุบันปัญหาและความต้องการ 2) การวางแผนการนิเทศ พบว่า โรงเรียนจัดประชุมคณะครู คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง แล้วจัดทำแผน/โครงการทั้งการนิเทศงานและนิเทศการสอน 3) การสร้างสื่อและเครื่องมือในการนิเทศ พบว่า โรงเรียนเลือกสื่อจากความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการนิเทศโดยใช้สื่อประเภทสิ่งตีพิมพ์มากที่สุด และสร้างเครื่องมือโดยกำหนดวัตถุประสงค์การใช้อย่างชัดเจนเพื่อกำหนดเนื้อหา และใช้แบบสังเกตการสอนมากที่สุด 4) การปฏิบัติการนิเทศ พบว่า โรงเรียนแต่งตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบงาน/โครงการนิเทศภายในโรงเรียน และปฏิบัติการตามแผนที่กำหนดไว้ โดยใช้การสังเกตการสอนมากที่สุด 5) โรงเรียนมีการประเมินผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน

References

จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.

จิณหธาน์ อุปาทัง. (2551). การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในของโรงเรียนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
การศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

จุไรรัตน์ สุดรุ่ง. (2559). การนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2556). ศาสตร์การนิเทศการสอนและการโค้ช การพัฒนาวิชาชีพ: ทฤษฎี กลยุทธ์
สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 12). ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
นครปฐม.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2558). ตำราการนิเทศการศึกษา. เชียงใหม่: ส.การพิมพ์.

วารุณี ลัภนโชคดี. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลและพัฒนาการของระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกทั้งสามรอบ ของ สมศ.. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย
ราชภัฏภูเก็ต. 14(1), 350-381.

วรรณพิศา พฤกษมาศ. (2553). การศึกษาการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
กรุงเทพมหานคร.

สหไทย ไชยพันธุ์. (2556). การศึกษากับการใช้ทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งตีพิมพ์. วารสารมหาวิทยาลัย
นราธิวาสราชนครินทร์. 5(2), 147-156.

สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560-2563). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง
ประเทศไทย.

______. (2560). แนวทางการขอขยายชั้นเรียนหรือห้องเรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์
การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). ความเป็นมา/อำนาจ
หน้าที่. สืบค้นจาก https://www.onesqa.or.th/th/profile/874/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาของ
กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

______ . (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2554). แนวทางการบริหารจัดการคุณภาพโรงเรียน
สังกัดกรุงเทพมหานคร การบริหารวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ.

อัมพวรรณ สิริรักษ์. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดการนิเทศภายในตามความ
คิดเห็นของคณะกรรมการนิเทศภายในโรงเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีผลการประเมินคุณภาพ
ภายนอกในระดับดีมาก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

Harris, Ben M. (1985). Supervisory Behaviors in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs,
New Jersey: Prentice-Hall, Inc.

Glickman, C.D., Gordon, S.P., & Ross-Gordon, J.M. (2010). Supervision and instructional
leadership: A development approach. Boston: Allyn and Bacon, Inc.

Downloads

Published

2019-12-12

How to Cite

เจริญสุข ก., & สุดรุ่ง จ. (2019). การศึกษาการจัดการนิเทศภายในโรงเรียนขยายโอกาสที่มีผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับดีมาก สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402034 (13 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/193263