การศึกษาสภาพการจัดอบรมตามการรับรู้และความคาดหวังของครูที่เข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2

Authors

  • ทิพย์มณี เทพวิญญากิจ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Keywords:

THE COUPON FOR TEACHER DEVELOPMENT PROJECT

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดอบรมตามการรับรู้ของครูที่เข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู)  2) ศึกษาความคาดหวังของครูที่เข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู)  3) เปรียบเทียบสภาพการจัดอบรมตามการรับรู้กับความคาดหวังของครูที่เข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู)  กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูจำนวน 312 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ที่เข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู) ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มตามกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษา จากนั้นใช้การเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ PNI modified ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพปัจจุบันของการจัดอบรมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่ผู้เข้ารับการอบรมรับรู้ว่าปฏิบัติได้สูงสุดคือ ด้านประเมินผลการอบรม (2) ความคาดหวังของครูที่เข้ารับการอบรมอยู่ในระดับมาก ด้านที่ผู้เข้ารับการอบรมคาดหวังให้ปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านสถานที่จัดอบรม (3) เมื่อเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันของการจัดอบรมด้านที่ผู้เข้ารับการอบรมให้ความสำคัญสูงสุดคือ ด้านสถานที่จัดอบรม มีค่า PNI modified เท่ากับ 0.84            

References

คม ชัด ลึก. (2560). คูปอง 1 หมื่น พัฒนาครูวุ่น. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/news/edu-health/289661

ดุษฎี รุ่งรัตนกุล. (2553). การติดตามผลการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาครูแกนนำวิชาภาษาอังกฤษ
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบภายใต้แผนปฏิบัติการไทย
เข้มแข็ง ของศูนย์เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย
นเรศวร, 12(3), 13-25.

นงลักษณ์ สุทธิวัฒนพันธ์. (2556). คิด พูด ทำ ประชาสัมพันธ์อย่างไรให้โดนใจผู้รับ. กรุงเทพมหานคร :
บุ๊คส์ ทู ยู จำกัด.

นพเก้า ณ พัทลุง. (2561). การจัดการฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: นีโอพ้อยท์ (1995).

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2553). การพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ พริ้น.

ประชาไท. (2561). ยมทูตการศึกษา บุกหน้ากระทรวงชูป้ายตั้งคำถามโครงการคูปองครู.
สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2018/06/77234

มติชน. (2561). เสียงสะท้อน “ครูปองครู 1.4 พันล.” ไม่คุ้ม-เปิดช่องนักการเมืองหากิน. สืบค้นจาก
https://www.matichon.co.th/education/news_1050120

มติชนสุดสัปดาห์. (2561). คูปองพัฒนาครู ละลายทรัพย์ ฤๅทางรอด. สืบค้นจาก
https://www.matichonweekly.com/column/article_108133

วรณัน พินิจดี. (2558). 7 กระบวนการที่จำเป็นสำหรับนักฝึกอบรมมืออาชีพ. นนทบุรี: บัดดี้ ครีเอชั่น.

วรรณี แกมเกตุ. (2551). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิทยา พัฒนเมธาดา. (2561). ครูต้องทำแผนพัฒนาตนเอง ID PLAN. สืบค้นจาก
https://www.kansuksa.com/111/
สมคิด บางโม. (2551). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สมชาติ กิจยรรยง. (2555). เทคนิคการเป็นวิทยากรที่ประสบความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท
จำกัด.

สมหมาย ปาริจฉัตต์. (2560). พัฒนาครู เพื่อครูหรือนักเรียน. สืบค้นจาก
https://www.matichon.co.th/columnists/news_495165

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). บทวิเคราะห์สถานภาพการพัฒนาครูทั้งระบบและ
ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาครูเพื่อคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. (รายงาน
ผลการศึกษา). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการปฏิบัติงานตามโครงการพัฒนาครู
รูปแบบครบวงจร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุรศักดิ์ ปาเฮ. (ธันวาคม, 2553). การพัฒนาครูทั้งระบบตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาทศวรรษ
ที่สอง (พ.ศ.2552-2561) ของครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ใน สุรศักดิ์ ปาเฮ (ประธาน), การประชุมสัมมนาทางวิชาการ. เอกสาร
ประกอบการประชุมของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2, โรงแรมนคร
แพร่ทาวเวอร์

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร:
วี.พริ้นท์ (1991).

อรพรรณ์ โขมะสรานนท์. (2554). การจัดการฝึกอบรมและสัมมนา. นนทบุรี: PS Print.

Downloads

Published

2019-09-03

How to Cite

เทพวิญญากิจ ท., & สุดรุ่ง จ. (2019). การศึกษาสภาพการจัดอบรมตามการรับรู้และความคาดหวังของครูที่เข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาครูรูปแบบครบวงจร (คูปองครู) ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402012 (12 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/193428