สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8

Authors

  • ชวิกา ทีเจริญ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เพ็ญวรา ชูประวัติ

Keywords:

ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 โดยประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จำนวน 19 โรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 316 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงเป็นผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน หรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน โรงเรียนละ 1 คน และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนละ 2 คน รวมจำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยี ด้านการมีสมรรถนะทางเทคโนโลยี ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ด้านการใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผล ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.71, SD = 0.49) สภาพปัจจุบันที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน (M = 3.81, SD = 0.58) รองลงมาคือ ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี (M = 3.79, SD = 0.57) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.58, SD = 0.45) ด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์สูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน (M = 4.66, SD = 0.44) รองลงมาคือ ด้านการมีจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี (M = 4.64, SD = 0.48)

References

คมพิศิษฐ์ ศรีบุญเรือง. (2558). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารบริหารการศึกษา, 11(2). สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDMKKU/article/view/48131

ชวลิต เกิดทรัพย์. (2550). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

ณรงค์ พิพัฒนาศัย. (2557). นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประจำปีงบประมาณ 2558.กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ทินกฤต รุ่งเมือง. (2552). การบริหารงานเทคโนโลยีการศึกษา ตามนโยบายและมาตรฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิษณุโลก เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

เธียรรัตน์ ไชยโรจน์. (2557). การนำเสนอแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

บรรจบ บุญจันทร์. (2554). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น)

ภัทรา ธรรมวิทยา. (2557). การศึกษาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษาในเขตธนบุรี. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

มาตรฐานวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา. (2556). สืบค้นจากhttps://www.car.chula.ac.th/readerweb/web/reference_format.html

วิชิต สุขทร. (2556). การโปรแกรมบนเว็บ. นครศรีธรรมราช: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2557). ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กที่ต้องเร่งรัดแก้ไข. [เฟสบุ๊กโพสต์]. สืบค้น
จากhttps://www.facebook.com/Prof.SombatThamrongthanyawong/posts/787389251302068

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). รูปแบบแนวดำเนินการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก. สืบค้นจาก https://plan.lpg3.go.th/?p=571

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. (2559). นโยบายสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559. สืบค้นจากhttps://www.sesao8.go.th/sesao/index.php?option=com_content&view=article&id=4&Itemid=2

สุธาสินี สว่างศรี. (2553). การพัฒนาภาวะผู้นำด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

Anderson, R. E., & Dexter, S. L. (2005). School technology leadership: An empirical investigation of prevalence and effect. Educational Administration Quarterly, 41(1), 49-82.

Chang, I. H. (2012). The effect of principals' technological leadership on teachers' technological literacy and teaching effectiveness in Taiwanese elementary schools. Educational Technology & Society, 15(2), 328-340.

International Society for Technology in Education. (2009). ISTE Standards Administrators. Retrieved from https://www.iste.org/standards/for-administrators.

NETS-A. (2009). National Education Technology Standards and Performance Indicator for administrators. Retrieved from https://www.iste.org/404?aspxerrorpath=/docs/pdfs/NETS_for_Administrators_2009-EN.pdf

Rivard. L. R. (2010). Enhancing education through technology: Principal leadership for technology integration in schools. Michigan: Wayne State University.

Weng, C. H., & Tang, Y. (2014). The relationship between technology leadership strategies and effectiveness of school administration. An empirical study. Computers & Education, 76, 91-107.

Yee, D. L. (2000). Image of school principals’ information and communication technology leadership. Journal of Information Technology for Teacher Education. 9(3), 287-302

Yukl, G. (2006). Leadership in organizations. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.

Downloads

Published

2019-12-26

How to Cite

ทีเจริญ ช., & ชูประวัติ เ. (2019). สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402050 (12 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/193488