การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร

Authors

  • วิมล ตันติอภิวัฒน์
  • วรวรรณ เหมชะญาติ

Keywords:

เด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี, กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน, ห้องสมุดสาธารณะ

Abstract

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร ได้แก่ การบริหารจัดการกิจกรรม ลักษณะกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และแหล่งสนับสนุนการจัดกิจกรรม ตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุดและผู้ใช้บริการในปีพ.ศ. 2562 จำนวน 380 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ

ผลการวิจัยคือ ด้านการบริหารจัดการกิจกรรมพบว่า วางแผนในรูปแบบการประชุมรายเดือน คิดเป็นร้อยละ 59.1 กลุ่มเป้าหมายคือทุกเพศทุกวัย คิดเป็นร้อยละ 61.8 ช่องทางหลักในการประชาสัมพันธ์คือการติดป้าย คิดเป็นร้อยละ 100 ด้านลักษณะกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านพบว่า สำหรับเด็กเน้นทักษะการขีดเขียนลักษณะวาดภาพระบายสี       คิดเป็นร้อยละ 29.8 ทักษะการฟังนิทานประกอบหนังสือ คิดเป็นร้อยละ 27.4 ทักษะการอ่านหนังสืออย่างอิสระ คิดเป็นร้อยละ 23.8 และทักษะการพูดในรูปแบบของการฝึกเล่านิทานด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 19.0 ตามลำดับ ส่วนผู้ปกครองและชุมชนได้รับความรู้ข่าวสารที่ทันสมัยจากป้ายนิเทศในห้องสมุด คิดเป็นร้อยละ 97.3 และด้านแหล่งสนับสนุนการจัดกิจกรรมพบว่า เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเป็นผู้จัดกิจกรรมโดยตรง คิดเป็นร้อยละ 100 เข้ารับการอบรมสม่ำเสมอ คิดเป็นร้อยละ 71.5 และเนื้อหาที่ได้รับการฝึกอบรมบ่อยคือเทคนิคการเล่านิทาน คิดเป็นร้อยละ 51.0 ส่วนการจัดสรรงบประมาณพบว่าได้รับการสนับสนุนเป็นสิ่งของและรางวัลจากคนในชุมชนและบริษัทเอกชนต่างๆ คิดเป็นร้อยละ 52.3

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กัลยา ตันจะโร. (2555). การใช้สื่อสังคมเพื่อการประชาสัมพันธ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

โครงการ PISA ประเทศไทย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ซัคเซสพับลิเคชั่น จำกัด.

จีระพันธ์ุ พูลพัฒน์. (2548). พัฒนาภาษาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก https://www.pecerathailand.org/2018/01/296.html

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). สร้างเสริมนิสัยรักการอ่านให้เด็กได้อย่างไร. กรุงเทพมหานคร: สุวีรียาสาส์น.

แม้นมาส ชวลิต. (2544). แนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน (ฉบับแก้ไขและเพิ่มเติม). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจยุ.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย. (2556). โครงการพัฒนาองค์ความรู้ห้องสมุดและวิชาชีพบรรณารักษ์ งานบริการและกิจกรรมของห้องสมุด (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร: คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล. (2561). แผนบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 – 2560. สืบค้นจาก https://www.bangkok.go.th/upload/user/00000130/Logo/Document/ 2Management%20Plan%20governor%202556-2560.pdf

สำนักสถิติแห่งชาติ. (2559). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล๊อก.

Copple, C., & Bredekamp, S. (2012). Developmentally Appropriate Practice in Early Childhood Programs Serving Children from Birth through Age 8. Washington: National Association for the Education of Young Children.

Cohen, B. D. (2010). Crash course in library services to preschool children. California: Libraries Unlimited.

Gill, P. (2001). The public library service: IFLA/UNESCO guidelines for development. München: K.G. Saur.

Jalongo, M. R. (1992). Early Chilldhood Language Atrs. Massachusetts: Allyn and Bacon.

Downloads

Published

2019-12-27

How to Cite

ตันติอภิวัฒน์ ว., & เหมชะญาติ ว. (2019). การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านสำหรับเด็กอายุ 3 ถึง 6 ปี ในห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร. An Online Journal of Education, 14(2), OJED1402056 (10 pages). Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/222021