ความกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Authors

  • วรวรรณ ปาริจฉัตต์
  • สุมาลี ชิโนกุล

Keywords:

ความกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษ, ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ, ENGLISH LANGUAGE WRITING ANXIETY, ENGLISH WRITING PERFORMANCE

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปัจจัยที่ทำให้เกิดความกังวลในการเขียน และผลของความกังวลในการเขียนที่มีต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างประกอบ ด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในเขต สพม. 1  จำนวน 30 คน งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม 2 แบบสอบถาม และคะแนนจากงานเขียนของนักเรียนในการรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีความกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษในระดับปานกลางถึงสูง และความกังวลในการเขียนมีผลเชิงลบต่อความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่าความกังวลการเขียนมีสาเหตุหลักจากปัจจัยด้านภาษา ปัจจัยด้านกระบวนการคิด และปัจจัยทางด้านอารมณ์ ตามลำดับ ปัจจัยด้านการทดสอบและการประเมิน และปัจจัยด้านกระบวนการเรียนการสอนและการให้ผลป้อนกลับ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความกังวลในการเขียนด้วยแต่ในอัตราที่แตกต่างกัน ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อลดความความกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษ และการวิจัยในอนาคต

This study aimed to (1) explore if there was English language writing anxiety among Grade 11 students in Thailand; (2) to explore the factors that cause the students’ English language writing anxiety; and (3) to explore the effect of English language writing anxiety on the students’ English writing performance. The participants of this study were 30 Grade 11 students in a secondary school in the Seconary Educational Service Area Office 1. This study was based on quantitative research. Two questionnaires,  Questionnaire I – the Second Language Writing Anxiety Inventory (SLWAI) and Questionnaire II – Causes of Second Language Writing Anxiety, and students’ writing scores were used as tools to collect data.

The findings showed that the participants encountered moderate to high levels of anxiety when writing English compositions and there was a statistically significant negative correlation between students’ writing scores and their levels of anxiety. Furthermore, the findings indicated that high levels of writing anxiety could be primarily caused by linguistic, cognitive and affective factors. The other two factors, the evaluation and test factor and the teaching practices and feedback factor, were still considered effective in contributing sources to second language writing anxiety but at different rates. Based on the findings, pedagogical implications for reducing English language writing anxiety and recommendations for further studies were provided.

Downloads

How to Cite

ปาริจฉัตต์ ว., & ชิโนกุล ส. (2014). ความกังวลในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. An Online Journal of Education, 9(1), 657–671. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/37265