การศึกษาสภาพการใช้ครูและการรับรู้ความสามารถในตนเองของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอก A STUDY OF TEACHING ASSIGNMENTS AND TEACHER EFFICACY OF OUT OF FIELD TEACHERS IN PRIMARY SCHOOL

Authors

  • วนิดา ประคัลภ์กุล
  • ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ

Keywords:

การสอนไม่ตรงวิชาเอก, สภาพการใช้ครู, ครูประถมศึกษา, OUT OF FIELD TEACHER, TEACHING ASSIGNMENT, PRIMARY SCHOOL

Abstract

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการใช้ครูในโรงเรียนประถมศึกษา (2) เปรียบเทียบระดับการรับรู้ความสามารถในตนเองของครูที่สอนตรงวิชาเอกกับครูที่สอนไม่ตรงวิชาเอก ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม ตัวอย่างเป็นครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) จำนวน 357 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถามครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงสรุปอ้างอิง

       ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) ในโรงเรียนประถมศึกษา มีการมอบหมายงานสอนให้ครู 3 รูปแบบ ได้แก่ การมอบหมายงานสอนที่ตรงกับวิชาเอกเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 40.6 รองลงมาคือการมอบหมายงานสอนที่ครูต้องสอนทั้งตรงและไม่ตรงวิชาเอก คิดเป็นร้อยละ 34.5 และครูไม่ตรงวิชาเอกเพียงอย่างเดียวมีจำนวนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 24.9 (2) การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในตนเองของครู แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะได้แก่  (2.1) การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยระหว่างครูที่สอนตรงวิชาเอกเพียงอย่างเดียว กับครูที่สอนไม่ตรงวิชาเอกเพียงอย่างเดียวด้วยสถิติทดสอบที แบบสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน พบว่า ครูที่สอนตรงวิชาเอก และครูที่สอนไม่ตรงวิชาเอก มีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถในตนเองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 5.57, df = 152) (2.2) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลของครูที่สอนทั้งตรงและไม่ตรงวิชาเอกด้วยสถิติทดสอบที แบบสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระจากกัน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของการสอนทั้งสองรูปแบบมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Mean Different = 0.57, SD = 0.52, t = 12.17, df = 122)

       The purpose of this research aimed (1) to study about teaching assignments in primary school, and (2) to compare the teacher efficacy between out of field teachers and teachers who teach in their field. The research sample consisted of 357 teachers in government primary schools. Multi-stage stratified random samplings were used as the sampling technique. Survey questionnaires were used for data collection. The data were analyzed using descriptive and inferential statistics.

       The analysis consisted of statistics which can be concluded as follows: (1) Teachers in government primary schools were assigned by 3 patterns. First, about 40.6% of teachers teach in their field only. Second, 34.5% of teachers were teaching for both patterns. Lastly, 24.9% of teachers were teaching out of their field only. (2) The comparison can be analyzed by looking at 2 types. (2.1) Teachers
who teach in their field only and teachers who teach out of their field only were different (t = 5.57, df = 152, p< .05). (2.2) Teachers who teach both had a difference between the 2 patterns (Mean Different = 0.57, SD = 0.52, t = 12.17, df = 122, p< .05).

Author Biographies

วนิดา ประคัลภ์กุล

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-20

How to Cite

ประคัลภ์กุล ว., & ไตรวิจิตรคุณ ด. (2017). การศึกษาสภาพการใช้ครูและการรับรู้ความสามารถในตนเองของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอก A STUDY OF TEACHING ASSIGNMENTS AND TEACHER EFFICACY OF OUT OF FIELD TEACHERS IN PRIMARY SCHOOL. An Online Journal of Education, 11(3), 390–406. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/83997