ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบและค่าการเดาของนักเรียน ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ CORRELATIONS OF TEST-TAKING MOTIVATION, TEST SCORE AND GUESSING PARAMETER WITH DIFFERENT STUDENT’S ACADEMIC AC

Authors

  • พรพิมล ค่อมสิงห์
  • วรรณี แกมเกตุ

Keywords:

แรงจูงใจในการสอบ, การทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ, ค่าการเดา, TEST-TAKING MOTIVATION, LOW-STAKES TESTING, GUESSING PARAMETER

Abstract

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดแรงจูงใจในการสอบต่อข้อสอบในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำรายข้อ  2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจในการสอบของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำและค่าการเดาของนักเรียนที่มีระดับความ สามารถทางการเรียนแตกต่างกัน  5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความสามารถของผู้สอบ (q) กับเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน  กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2  จำนวน 662 คน  เครื่องมือที่ใช้คือแบบวัดแรงจูงใจในการสอบและแบบสอบการศึกษาแนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

              ผลวิจัยพบว่า 1) แบบวัดแรงจูงใจในการสอบมี 1 องค์ประกอบ มีค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน เท่ากับ .734  2) ข้อสอบที่มีความสำคัญต่ำมีความเที่ยงแบบ KR20 เท่ากับ .785  มีข้อสอบผ่านเกณฑ์ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม 27 ข้อ และมีค่าความเที่ยงแบบ marginal เท่ากับ .838  มีข้อสอบผ่านเกณฑ์ตามทฤษฎีการตอบ สนองข้อสอบ 22 ข้อ  3) ผู้สอบที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกันมีค่าเฉลี่ยของแรงจูงใจในการสอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบและคะแนนสอบมีค่าเท่ากับ .297  และไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบและค่าการเดาในกลุ่มผู้สอบที่มีความสามารถทางการเรียนต่างกัน  

6) สัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ระหว่างค่าความสามารถของผู้สอบ (q) และเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาวิทยาศาสตร์เท่ากับ .632

The purposes of research were 1) to develop and investigate test-taking motivation questionnaires quality in low-stakes testing  2) to investigate test quality in low-stakes testing 
3) to compare test-taking motivation of student with different student’s academic achievement  4) to study the correlation among test-taking motivation, test score and guessing parameter with different student’s academic achievement  in low-stakes testing  5) to study the correlation between ability parameter (q) and Science’s grade point average. The participants were 662 eighth grade student in Bangkok. The research tools were test-taking motivation questionnaires and Low stakes Test (Trends in International Mathematics and Science Study: TIMSS). The research findings were as follows: 1) There was one factor of test-taking motivation questionnaires; called effort and Cronbach's Alpha reliability was .734  2) Low-stakes test had KR20 reliability was .785, Classical theory were accepted 27 items, had marginal reliability was .838, Item response theory were accepted 22 items. 3) There were significant consequences of test-taking motivation under different student’s ability levels at .05  4) There was a correlation (.297) between test-taking motivation and test score  5)  There was no correlation between test-taking motivation and guessing parameter under different student’s ability  6) There was a correlation (.632) between ability parameter and Science’s grade point average.

 

Author Biographies

พรพิมล ค่อมสิงห์

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

วรรณี แกมเกตุ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิจัยการศึกษา   ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-21

How to Cite

ค่อมสิงห์ พ., & แกมเกตุ ว. (2017). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการสอบกับคะแนนสอบและค่าการเดาของนักเรียน ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนแตกต่างกันในการทดสอบที่มีความสำคัญต่ำ CORRELATIONS OF TEST-TAKING MOTIVATION, TEST SCORE AND GUESSING PARAMETER WITH DIFFERENT STUDENT’S ACADEMIC AC. An Online Journal of Education, 11(2), 373–390. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84163