กระบวนการบริหารโรงเรียนที่ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด: โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี THE ADMINISTRATIVE PROCESS FOR BREAKTHROUGH IMPROVEMENT SCHOOLS : SCHOOLS...

Authors

  • พรศิริ ไกรดิษฐ์
  • ปองสิน วิเศษศิริ

Keywords:

กระบวนการบริหาร, การพัฒนาแบบก้าวกระโดด, ADMINISTRATIVE PROCESS, BREAKTHROUGH IMPROVEMENT

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการบริหารโรงเรียนที่ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี ทั้งหมด 2 โรงเรียน คือ โรงเรียนวัดป่างิ้ว และโรงเรียนสามโคก ที่ประสบผลสำเร็จ มีผลการพัฒนาตนเองแบบก้าวกระโดด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ปฏิบัติหน้าที่รองผู้อำนวยการทั้งหมดตามโครงสร้างองค์กรของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี
ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานีมีกระบวนการบริหารงานวิชาการ งานแผนและงบประมาณ งานบุคลากร งานอำนวยการและบริหารทั่วไป งานกิจการนักเรียน และงานประชาสัมพันธ์และประสานงานชุมชน 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) โรงเรียนมีการกำหนดขอบข่ายงานต่าง ๆ อย่างชัดเจน สำรวจอัตรากำลังและให้บุคลากรได้ปฏิบัติงานตามความถนัดและความสมัครใจ จัดทำแผนปฏิบัติการ ปฏิทินปฏิบัติงาน และปฏิทินติดตามงานทุกปีการศึกษา และจัดประชุมเพื่อวางแผนก่อนดำเนินงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนทุกครั้ง ขั้นตอนที่ 2 การนำแผนไปปฏิบัติ (Implementation) โรงเรียนดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการและปฏิทินปฏิบัติงาน และขั้นตอนที่ 3 การติดตาม กำกับ ตรวจสอบผลการปฏิบัติ แก้ไขปรับปรุง และประเมินผล (Evaluation) โรงเรียนติดตามการดำเนินงานตามปฏิทินติดตามงาน ประเมินผลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานทุกกลุ่มงาน ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

The objective of this research is to study the administration process in schools that resulted in a leap development. Case studies in this research were 2 schools in Pathumthani Provincial Administrative Organization: “Watpangiw School” and “Samkouk School”. The research tools were observation form, semi-structured interview, and documentary analysis form. Data were analyzed by content analysis. Contributors were directors, deputy directors, and all acting deputy directors of organizational structure of the school in Pathumthani Provincial Administrative Organization.
The study showed that the administration process in Academic Administration, Work plans and Budgets Administration, Personnel Administration, General Administration, Student Affairs Administration, and Public Relations and Community Coordination Administration had three steps. 1) Planning: clearly defined job descriptions, conducted manpower survey and permitted teachers to work on their own skills and interests. Set action plan, work and task tracking calendar in every school year. Held the meeting to create a plan for all schools’ operations and activities. 2) Implementation: implemented the action plan and task calendar plan. 3) Evaluation: evaluated schools’ operations and activities from all relevant teachers by using satisfactory form. Made the summarized report. Created the guidelines to solve the problems and to increase efficiency in schools’ operations.

Author Biographies

พรศิริ ไกรดิษฐ์

นิสิตมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปองสิน วิเศษศิริ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-25

How to Cite

ไกรดิษฐ์ พ., & วิเศษศิริ ป. (2017). กระบวนการบริหารโรงเรียนที่ทำให้เกิดการพัฒนาแบบก้าวกระโดด: โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี THE ADMINISTRATIVE PROCESS FOR BREAKTHROUGH IMPROVEMENT SCHOOLS : SCHOOLS. An Online Journal of Education, 11(4), 211–226. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84690