แนวทางการบริหารงานวิชาการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2 ACADEMIC ADMINISTRATION GUIDELINES LEADING TOWARD EXCELLENCE FOR THE ART DEPARTMENT OF HUNSASUJIT WITAYA 2 SCHOOL

Authors

  • วรัจฉรา คงสุกใส
  • ธีรภัทร กุโลภาส

Keywords:

การบริหารโรงเรียน, งานวิชาการ, กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ, ความเป็นเลิศ, SCHOOL ADMINISTRATOR, ACADEMIC, THE DEPARTMENT OF ARTS, EXCELLENCE

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการบริหารงานวิชาการที่เป็นเลิศของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ในโรงเรียนต้นแบบ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2 ใช้การวิจัยแบบเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษา (Case study Research) โดยศึกษาโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 1 โรงเรียน เลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แหล่งข้อมูลในการศึกษา คือ 1.แหล่งบุคคล ได้แก่ ผู้บริหารงานฝ่ายวิชาการ จำนวน 32 คน 2. ข้อมูลเอกสาร 3.การสังเกต เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2) แบบวิเคราะห์เอกสาร 3) แบบสังเกต โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยด้วยวิธี การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์แต่ละประเด็น ร่างแนวทาง จัดประชุม (Focus group) จากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำเสนอแนวทางมาใช้ในการบริหารงานของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2
ผลการวิจัย พบว่า 1) โรงเรียนต้นแบบ มีการดำเนินงานบริหารวิชาการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะให้เป็นเลิศ ดังนี้ 1.1 มีการบริหารงานวิชาการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะใน 9 ด้าน ด้วยวงจรเดมมิ่ง ( PDCA ) รวมถึงการส่งเสริมกิจกรรมส่งเสริมวิชาการศิลปะ 1.2 มีปัจจัยการบริหาร 4 ด้าน ข้อค้นพบอื่นคือการส่งเสริมสร้างแรงจูงใจ และการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานให้ขับเคลื่อนสู่เป้าหมาย 2) แนวทางในการบริหารงานวิชาการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสู่ความเป็นเลิศ ของโรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2 ต้องมีกระบวนการดำเนินงานบริหารวิชาการใน 9 ด้าน อย่างเป็นระบบ โดยต้องมีกระบวนการบริหารคุณภาพด้วยวงจรเดมมิ่ง ( PDCA ) ในการกำกับงานทั้งระบบ โดยอาศัยความร่วมมือตั้งแต่ระดับสูงลงมาพร้อมทั้งบทบาทของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งในภาครัฐ และเอกชน ในการบริหารงานร่วมกัน ในด้านปัจจัยสนับสนุนในการส่งเสริมงานวิชาการร่วมกัน และมีปัจจัยบริหารงาน 4 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะของผู้นำ เงินทุน วัสดุครุภัณฑ์ และระบบการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน รวมถึงการเสริมแรงบุคลากรในองค์กร การสร้างแรงจูงใจ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารงานวิชาการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะให้มีผลปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ

The objectives of this study were: (1) to study the operation of the academic administration towards excellence for the Department of Arts in a model school, and (2) to propose guidelines for academic administration towards excellence for the Department of Arts at Hansasujitwitaya 2 School using case study research and investigating in a model school. With purposive sampling, the sources of information were: (1) key informants, that is, 32 academic administrators; (2) documentary analysis; and (3) an observation instrument. Content analysis was carried out and then each topic was further used for drafting questions in focus groups of experts. Subsequently, the guidelines for academic administration towards excellence for the Department of Arts were presented to the Academic Committee at Hansasujitwitaya 2 School.
The results indicated that (1) the model school operated with the academic administration towards excellence for the Department of Arts being as follows; 1.1. This school operated the academic administration of Department of Arts in nine aspects by adopting the Demming, or PDCA, cycle and also supported the art activities; 1.2. The administrative factors of this school were divided into four parts and the findings included motivational encouragement and collaboration within academic networks for moving towards achieving goals; and (2) the guidelines of the academic administration towards excellence for the Department of Arts at Hansasujitwitaya 2 School operated systematically in the nine aspects. Specifically, the guidelines had to possess quality administration with the Demming cycle utilized as the monitoring system. The cooperation and teamwork from higher administrative positions to lower administrative positions and all public and private stakeholders were needed for supporting the academic activities. Finally, the four administrative factors were the ability of the leader, the budgets, educational durable objects, and efficient and effective administrative systems for supporting the operations as well as motivating the academic staff in order to move the academic administration towards excellence for the Department of Arts.

Author Biographies

วรัจฉรา คงสุกใส

นิสิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีรภัทร กุโลภาส

อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Downloads

Published

2017-04-26

How to Cite

คงสุกใส ว., & กุโลภาส ธ. (2017). แนวทางการบริหารงานวิชาการของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะสู่ความเป็นเลิศ โรงเรียนหรรษาสุจิตต์วิทยา 2 ACADEMIC ADMINISTRATION GUIDELINES LEADING TOWARD EXCELLENCE FOR THE ART DEPARTMENT OF HUNSASUJIT WITAYA 2 SCHOOL. An Online Journal of Education, 11(4), 243–261. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/84710